อะไรคือช่องว่าง ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

ผมมีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงในจังหวัดทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และชาวบ้านอยู่ในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 ถึงปัจจุบัน ปัญหาคือใครจะเอาเงินหลักล้านมาเสี่ยงละ ไม่ต้องถามถึงโครงการรัฐหรอกแค่คิดตอนนี้ขาข้างหนึ่งก็อยู่ในคุกแล้ว สรุปอุปสรรคที่พบจากการเล่าและประสบการณ์โดยตรง ได้ดังนี้

  • ตลาด มีต้องการผลผลิตทุกอย่าง แต่ต้องจำนวนมากและสม่ำเสมอ
  • ผู้ผลิต ยังไม่มั่นใจว่าจะผลิตส่งขายได้ไหม ต้นทุนสายป่านไม่ยาวพอที่จะรับความเสี่ยง ต่อการสร้างประสบการณ์องค์ความรู้ และเทคโนโลยี

นอกจากองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เข้าไปหนุนเสริมชุมชนแล้ว ผมว่าการลงทุนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดกลไกตลาดใหม่ หรือ New Supply Chain เป็นสิ่งจำเป็นต่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากมาก การระดมเงินมาลงทุนยากนะ แต่เกิดขึ้นเมื่อสร้างความไว้ใจในธุรกิจ (Trust Economic)


แต่ละโครงการที่พัฒนาในชุมชน ลองวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ ว่ากิจกรรมอาชีพที่ส่งเสริมมีกำลังผลิตอยู่ในระดับไหน ได้แก่ ระดับชุมชน/กลุ่ม ตำบล อำเภอ จังหวัด แล้วตั้งคำถามว่าถ้าจะยกระดับต้องเพิ่มทรัพยากรอีกเท่าไหร่ หรือโครงการมุ่งหวังลดรายจ่ายแบบที่ผ่านมา

สรุปใครคืออุปสรรคต่อการพัฒนา ทุกคนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วละ

ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง


เรื่อง/ภาพ : แตงโม สกลนคร
ติดตามได้ที่ : Onepoverty , blockdit และ Facebook

1 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ18/7/67

    โครงการส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ เช่ารถไปอบรมกินข้าวแล้วแยกย้าย ส่วนเงินลงทุนกลุ่มเป้าหมายมีเจ้าแม่หวยเป็นที่พึ่ง

    ตอบลบ
แสดงความคิดเห็น
ใหม่กว่า เก่ากว่า