โครงการยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG1) สนับสนุนห้องเรียนยุวชนสัมมาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนและใช้กระบวนการวิศวกรสังคม ด้วยการอัดและบรรจุก้อนเห็ดนางฟ้า ปฏิบัติการจริงจำนวน 6,000 ก้อน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วันที่ 26-27 ก.ค.2567 ณ โรงเรียนบ้านนาดอกไม้ ต.สามัคคีพัฒนา อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
ค่ายจิตอาสาเพาะเห็ดนางฟ้าในครั้งนี้ นำโมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ จากงานวิจัยปฏิบัติการแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญ คือ สร้างระบบพี่เลี้ยงวิสาหกิจชุมชน (เพื่อสังคม) โดย โค้งคำนับฟาร์ม เคลื่อนที่ (serve) มาถ่ายทอดทักษะการอัดและบรรจุก้อนเห็ด นอกจากองค์ความรู้แล้วระบบพี่เลี้ยงยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตด้วย
นี่คือระบบการจัดสวัสดิการ "การเรียนรู้" รูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้เรียนสนใจที่อยากรับรู้ จากการสร้างแรงจูงใจด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ซึ่งการพัฒนาทุนมนุษย์โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนในปัจจุบัน
ภาพ/เรื่อง : แตงโม สกลนคร