
การพัฒนาและยกระดับจังหวัดสกลนครสู่พื้นที่วิจัยยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมด้วยวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ความเป็นมา แนวคิด และการบริหารจัดการ
การขจัดความยากจน เป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญและกำหนดให้เป็น 1 ใน 17 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ปัญหาความยากจนแผ่ขยายไปทุกระดับของสังคมไทย ทั้งด้วยเงื่อนไขที่สลับซับซ้อนของความยากจน กลไกรัฐเพียงลำพังไม่อาจรองรับภารกิจของการแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลความยากจนที่ขาดความแม่นยำในการชี้เป้าตอบโจทย์ “คนจนอยู่ที่ไหน อะไรคือสาเหตุแห่งความยากจน” การทำงานแก้ไขปัญหาความยากจนจึงต้องนำไปสู่การออกแบบองคาพยพใหม่ สร้างกลไกพลังทางสังคมใหม่ ๆ ทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน รวมสถาบันการศึกษาที่ต้องจัดวางตำแหน่งแห่งที่บนความสัมพันธ์ของการทำงานร่วมกับอย่างเป็นระบบ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ ปี 2563 โดยวางหมุดหมาย (Positioning) ให้ประสานความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำรายครัวเรือน และจังหวัดสกลนครมีดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index -HAI) ปี 2562 ที่มีรายได้ภาคครัวเรือนต่ำที่สุด โดยใช้ฐานข้อมูลคนจนจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) จังหวัดสกลนคร ปี 2562 มีจำนวนคนจน 15,390 คน เป็นเป้าหมายตั้งต้นในการดำเนินงาน โดยมีแนวคิดที่สำคัญดังนี้
- แนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework: SLF)
- การบูรณาการความร่วมมือแบบพหุภาคี (Collaborative Governance)
- ห่วงโซ่คุณค่าที่มุ่งเน้นเป้าหมายกลุ่มคนยากจน (Pro-poor Value Chain)
- แนวคิดโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net: SSN)
- เกณฑ์และการจำแนกความยากจน
จังหวัดสกลนคร เสริมพลังการปฏิบัติงานโดยศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดสกลนคร (ศจพ.จ) ให้เป็นกลไกกลางในการบูรณาการทำงาน ร่วมกับภาคีในพื้นที่ ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษา องค์กรชุมชน เครือข่ายภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยมีภารกิจร่วมกัน ได้แก่ 1)ระบบข้อมูลที่มีคุณภาพเกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกัน “ถูกต้อง ถูกใจ นำใช้ประโยชน์” 2)การจัดสวัสดิการครอบคลุม “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” และ 3)การพัฒนาโมเดลแก้จน โดยมีแนวทางดำเนินงานดังนี้
- สร้างความเข้าใจกับกลไกภาคี
- วิเคราะห์บริบทของพื้นที่ และทุนดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF)
- วิเคราะห์กลไกเชิงสถาบัน และประสานภาคีพัฒนาแก้ปัญหาความยากจนในมิติต่าง ๆ
- วางแผนขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำแบบมีส่วนร่วม
- ปฏิบัติการตามแผนขจัดความยากจน (โมเดลแก้จน)
- สร้างระบบติดตามประเมินผล
เป้าหมายโครงการ
2. ยกระดับระบบข้อมูล PPPConnext ให้เป็นระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนกลางของจังหวัด 1 ระบบ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาความยากจน 1 ระบบ
4. ได้ข้อมูลครัวเรือนยากจนจากการตรวจสอบด้วยกระบวนการค้นหา และระบุคนจนที่ตกหล่น (Exclusion Error) คนจนรั่วไหล (Inclusion Error) ที่เป็นปัจจุบันให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด
5. ได้ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ 100% เพื่อสร้างโอกาสทางสังคม (Social Mobility)
6. ยกระดับโมเดลแก้จน (PPAM) ที่ระบุนวัตกรรมและ/หรือเทคโนโลยี
- คนจนได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ Up-skill/ Re-skill/ New-skill 100%
- ได้โมเดลแก้จน ได้แก่ Local Content, Pro-poor Value Chain, Social Safety Net และ Social Mobility
8. เกิดมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ (Area Based University) สร้างระบบนิเวศการทำงานแก้จน (Ecosystem) ในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัด (สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ)
9. ได้นักบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Manager)
- นักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ARM) 15 คน
- นักจัดการงานพัฒนาเชิงพื้นที่ (ADM) 25 คน
11. เกิดกองทุนในระดับจังหวัดเพื่อช่วยเหลือคนยากจน
12. เกิดระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ
13. คนจนเป้าหมายเกิดการพัฒนาอาชีพ 860 ครัวเรือน หรือ 4,300 คน และยกระดับรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
14. จำนวนองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างน้อย 20 ชิ้น
พื้นที่ดำเนินการ
- โครงการ อารยเกษตรแก้จนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัย พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสกลนคร
- โครงการ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับการเกษตรเพื่อขจัดความยากจน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร พื้นที่ดำเนินการ อำเภออากาศอำนวย
- โครงการ การยกระดับรายได้ครัวเรือนคนจนด้วยนวัตกรรมการปลูกกรุงเขมาเพื่อจัดจำหน่ายและแปรรูปเชิงพาณิชย์ พื้นที่ดำเนินการ อำเภอพรรณานิคม พังโคน วานรนิวาส และกุสุมาลย์
- โครงการ การบริการจัดการน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติแล้ง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือครัวเรือนคนจนด้านประสิทธิในการเข้าถึงการใช้น้ำอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกุสุมาลย์
ผู้รับผิดชอบโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
แหล่งทุน
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
