
โมเดลแก้จน หมายถึง การแก้จนระดับพื้นที่ในการช่วยเหลือคนจนหรือครัวเรือนยากจน ที่ใช้การวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการดำเนินการ ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และผลการวิเคราะห์ฐานทุนดำรงชีพของกลุ่มเป้าหมาย (SLF.) รวมถึงส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปประธรรม ต่อคนจนหรือครัวเรือนยากจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ รายได้ และคุณภาพชีวิต โมเดลแก้จนเป็นส่วนหนึ่งในระบบและกลไกของแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ขับเคลื่อนงานโดยหน่วย บพท.
ดำเนินการโดย
โมเดลแก้จน ได้รับสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ปฏิบัติการโดยทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีกลยุทธ์ในการแก้จน คือ "เกษตรมูลค่าสูง" ได้รับทุนโครงการวิจัยต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ ปี 2565 - 2566 ดำเนินการโดย อ.สายฝน ปุนหาวงค์ และคณะ
ชื่อโครงการ : การพัฒนากระบวนการเพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยระบบการผลิตเกษตรมูลค่าสูงของกลุ่มเกษตรกร ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม และตำบลโพนงาม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
เวลาดำเนินการ : ระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 15 เมษายน 2565 - 14 เมษายน 2566
ชื่อโครงการ : การพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
เวลาดำเนินการ : ระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
ปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง คือ กลยุทธ์การดำรงชีพ ในระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด มีคุณค่าทางโภชนาการ ตั้งแต่กระบวนการต้นทาง กลางทาง ปลายทาง (การผลิต แปรรูป การตลาด) โดยมิได้เพียงมุ่งเน้นมูลค่าในด้านราคาที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่เกษตรมูลค่าสูง ยังหมายความรวมถึง การเกษตรที่ก่อให้เกิดผลในเชิงคุณค่าไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่ต้นทุนต่ำและไม่จำเป็นต้องผูกขาด การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม (Profit Sharing) ให้กับเกษตรกร โมเดลแก้จน แบ่งปฏิบัติออกเป็น 3 อาชีพ คือ เห็ด ข้าว สมุนไพร ครอบคลุมอาชีพระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สามารถสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจเกิดเงินหมุนเวียนในอำเภออากาศอำนวย คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,814,000 บาท โดยบูรณาการความร่วมมือกับนโยบาย "อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข" อำเภออากาศอำนวย โครงการพัฒนาความเป็นอยู่ สู่ความสุขอย่างยั่งยืน ด้วยวิถีพอเพียง
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ผู้รับผลประโยชน์ : จำนวน 280 ครัวเรือน
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ : จำนวน 8 ชิ้น ประกอบด้วย
- องค์ความรู้และทักษะการเพาะเห็ด เห็ดคืออะไร รู้จักระบบผลิตเห็ด
- เทคโนโลยีหม้อนึ่งแรงดันไอน้ำอุณหภูมิคงที่ 100 องศา ฯ
- เทคโนโลยีการเขี่ยเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
- เทคโนโลยีโรงเรือนเพาะเห็ดระบบน้ำพ่นฝอย
- นวัตกรรมการเพาะเห็ดจากไม้ยางพารา
- นวัตกรรมการเพาะเห็ดจากฟางข้าวเสริมธาตุสิลิเนียม
- Web Application “ตามปลูก ตามเก็บ”
รายได้เพิ่มขึ้น : ร้อยละ 20 ต่อเดือนต่อครัวเรือน
การเปลี่ยนแปลง :
- โมเดล BCG เพาะเห็ดจากฟางข้าวเสริมธาตุสิลิเนียม นำก้อนเชื้อเห็ดเก่าไปทำสารปรับปรุงดิน
- ชุมชนและกลุ่มเป้าหมายมีความเป็นเจ้าของอาชีพ
- ระบบพี่เลี้ยงการจัดสวัสดิการการเรียนรู้ พี่เลี้ยงตำบลไร่ พี่เลี้ยงต.โพนแพง
- วิสาหกิจชุมชนปลูกเห็ดไร้สาร โค้งคำนับฟาร์ม .
ผู้รับผลประโยชน์ : จำนวน 75 ครัวเรือน (กลุ่มนาปรัง 55 , กลุ่มข้าวเม่า 25)
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ :
- ต้นแบบเทคโนโลยีตะแกรงร่อนคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ
รายได้เพิ่มขึ้น : ร้อนละ 20 ต่อครัวเรือนต่อเดือน
การเปลี่ยนแปลง :
- เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายในชุมชน ภายในโครงการกลุ่มเพาะเห็ด
- วิสาหกิจชุมชนนาปรังมูลค่าสูง .
ผู้รับผลประโยชน์ : จำนวน 30 ครัวเรือน
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ : ....
รายได้เพิ่มขึ้น : ....
การเปลี่ยนแปลง : ....
![]() |
ข้อมูลอัปเดท ธันวาคม 2566 |
📱ช่องทางการติดตามการวิจัย
WebBloog : https://www.1poverty.com
Facebook : https://www.facebook.com/om2sakon
Webblockdit : https://www.blockdit.com/onepoverty
รวมบทความในงานวิจัย
โมเดลแก้จน "เกษตรมูลค่าสูง"โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว
โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ
โมเดลสมุนไพรไทบรู
ท่องเที่ยวชุมชน "พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต"
{fullWidth}