
ปรับโฉม สกลนคร ด้วยวิจัยและนวัตกรรม: ยกระดับสู่พื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน
การขจัดความยากจน เป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญและกำหนดให้เป็น 1 ใน 17 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ปัญหาความยากจนแผ่ขยายไปทุกระดับของสังคมไทย ทั้งด้วยเงื่อนไขที่สลับซับซ้อนของความยากจน กลไกรัฐเพียงลำพังไม่อาจรองรับภารกิจของการแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลความยากจนที่ขาดความแม่นยำในการชี้เป้าตอบโจทย์ “คนจนอยู่ที่ไหน อะไรคือสาเหตุแห่งความยากจน” การทำงานแก้ไขปัญหาความยากจนจึงต้องนำไปสู่การออกแบบองคาพยพใหม่ สร้างกลไกพลังทางสังคมใหม่ ๆ ทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน รวมสถาบันการศึกษาที่ต้องจัดวางตำแหน่งแห่งที่บนความสัมพันธ์ของการทำงานร่วมกับอย่างเป็นระบบ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ ปี 2563 โดยวางหมุดหมาย (Positioning) ให้ประสานความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำรายครัวเรือน และจังหวัดสกลนครมีดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index -HAI) ปี 2562 ที่มีรายได้ภาคครัวเรือนต่ำที่สุด โดยใช้ฐานข้อมูลคนจนจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) จังหวัดสกลนคร ปี 2562 มีจำนวนคนจน 15,390 คน เป็นเป้าหมายตั้งต้นในการดำเนินงาน
การดำเนินงานครั้งนี้ เกิดจากระบบและกลไก อว.ส่วนหน้า ที่ผนึกกำลัง 3 มหาวิทยาลัย ในจังหวัดสกลนคร คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ขับเคลื่อนแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ประชาชน ดังนี้
- การสร้างกลไกความร่วมมือ
- การพัฒนาระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนแบบชี้เป้า
- การพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือและติดตามแบบมุ่งเป้า
- การสร้างโมเดลแก้จนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- การเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาระดับจังหวัดและท้องถิ่น
- บทบาทของมหาวิทยาลัยแก้ไขปัญหาความยากจน
โจทย์งานวิจัย
- การพัฒนาระบบข้อมูลต่อเนื่อง และขยายผลการใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างเป้าหมายร่วม แผนยุทธศาสตร์และปฏิบัติการร่วมแก้ปัญหาความยากจนของกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่ (Poverty Platform) รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกรายครัวเรือน
- การสร้างโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic Mobility) รายครัวเรือน ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต อาชีพ รายได้ และการเข้าถึงการศึกษา ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ลดความยากจน ด้วยกระบวนการ มีส่วนร่วมของกลไกภาคี
- สร้างพื้นที่ต้นแบบการจัดการความยากจนทั้งพื้นที่ (Poverty Area Prototype) ภายใต้แพลตฟอร์มขจัดความยากจนระดับจังหวัด ด้วยข้อมูล กลไกกระบวนการ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนต่อเนื่องเมื่อสิ้นสุดโครงการ (Exit strategy) และสร้างการเรียนรู้และขยายผลไปพื้นที่อื่น ๆ
- การบูรณาการความร่วมมือเพื่อบริหาร จัดการภัยพิบัติในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เสี่ยงภัยในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเกษตรกรประสิทธิภาพ ลดปัญหาความยากจน (เฉพาะ จังหวัดที่มีภัยพิบัติซ้ำซาก และต้องมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน)
- การยกระดับบทบาทมหาวิทยาลัยทั้งในระดับพื้นที่ เครือข่ายมหาวิทยาลัยพื้นที่ระดับชาติ และเชื่อมโยงกับระดับนานาชาติ เพื่อขยายผล/ยกระดับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เป้าหมายงานวิจัย
- ระบบข้อมูล PPPConnext มีการนำเข้าข้อมูลครัวเรือนยากจนจากการค้นหาและสอบอย่างต่อเนื่อง และวิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฏจักรความยากจนรายครัวเรือน
- พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลระบบ Al ที่สามารถประเมินผลกระทบนโยบายรัฐที่มีต่อคนจน และพยากรณ์สถานการณ์ความยากจนใน พื้นที่เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาความยากจน
- ขยายผลการใช้ประโยชน์ระบบข้อมูลครัวเรือนความยากจนกลางของจังหวัด เพื่อให้มีหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจนพื้นที่ใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยมีผู้ใช้ประโยชน์ (User) เพิ่มขึ้น 25 หน่วยงาน
- คนจนในพื้นที่ได้รับการส่งต่อช่วยเหลือ ตามมิติความยากจน ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านที่อยู่อาศัยการเข้าสู่สวัสดิการ 100% และระบบการบ่มเพาะทักษะอาชีพ
- คนจนสามารถเข้าถึงการสร้างอาชีพในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่ม ด้วยการ Up-skill/Re-skill/ New-skill 100% และมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ภายใต้โมเดลแก้จนเดิม (ที่ดำเนินงาน ปี 2567) และโมเดลแก้จนใหม่ (ในปี 2568) โดยมีรายละเอียดดังนี้
- นวัตกรรมและ/หรือเทคโนโลยี ในการพัฒนาอาชีพ อย่างน้อย 35 นวัตกรรม/เทคโนโลยีต่อจังหวัด
- องค์ความรู้ ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับ ศักยภาพ เข้าสู่สวัสดิการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม/ โมเดลแก้จนยกระดับรายได้ อย่างน้อย 25 ชิ้น
- คนจนเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือผ่านองค์ความรู้ เทคโนโลยี/ นวัตกรรมพร้อมใช้ (Technology) เพื่อการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้และเข้าถึงโอกาสในการยกระดับฐานะทาง สังคม (Social Mobility) จำนวน 1,000 ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 5,000 คนต่อจังหวัด
- ) โมเดลเศรษฐกิจชุมชนรายครัวเรือน ให้มีเมนูอาชีพที่หลากหลายสำหรับคนจนที่สอดคล้องกับ Local Content เพิ่มขึ้นจากเดิม 5 โมเดล
- ) โมเดลแก้จน Pro-poor Value Chain ในรูปแบบโมเดลแก้จน Flagship และ Balance Phase เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 โมเดล
- ) โมเดลแก้จน Social Safety Net เพื่อสร้างระบบสวัสดิการเกื้อกูลให้คนจน กลุ่มเปราะบาง คนด้อยโอกาสในชุมชนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพิ่มขึ้นจากเดิม 1 โมเดล
- ) โมเดลแก้จนระดับอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ (Area Based Industry) ที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมขนาดใหญ่ (Big Impact) จากProblem Based/ Opportunity Based ศักยภาพ เห็นโอกาสยกระดับรายได้ให้ครัวเรือน และ GPP จังหวัด มีการจ้างงานและมีโครงสร้างการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (Fair Trade) ได้กลุ่มเกษตรกร โดยจำนวนคนในชุมชน และครัวเรือนยากจนได้รับผลประโยชน์ไม่น้อยกว่า 50% จำนวน 1 โมเดล
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการการเงิน (Financial Literacy) และการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง สำหรับครัวเรือนยากจน ให้มีทักษะในการ จัดการรายได้ หนี้สิน ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและใช้จ่ายเกิน ตัว เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะหนี้สิ้นภาคครัวเรือน และไม่กลับมาเป็นหนี้ซ้ำ จำนวน 192 ครัวเรือน ไม่น้อยกว่า 960 คน/ จังหวัด
- พัฒนา "อำเภอแก้จน/ ท้องถิ่นแก้จน" ที่สามารถ จัดการปัญหาความยากจนได้ทั้งพื้นที่ (100%) ในอำเภอหรือท้องถิ่นเดิมอย่างต่อเนื่อง (ที่ดำเนินงาน ปี 2567) ต้องขับเคลื่อนต่อเนื่อง จำนวน 1 แห่ง และขยายพื้นที่เพิ่ม (ในปี 2568) จำนวน 1แห่ง
- เกิดการพัฒนาระบบการจัดการร่วมกับกลไกในพื้นที่เช่น อบจ. หน่วยงานตามภารกิจ เป็นต้น ที่ขยายผลรูปธรรมความสำเร็จจากงานวิจัยตามแพลตฟอร์มขจัดความยากจนระดับจังหวัด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- ติดตั้งระบบข้อมูล (Built in) โดยสร้างความเป็นเจ้าของ (Ownership) เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณ และกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาความ
- ส่งต่อช่วยเหลือคนจนให้เข้าถึงโอกาสด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาอาชีพ และสวัสดิการต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ อปท. ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
- ขยายผลโมเดลแก้จนที่มีรูปธรรมความสำเร็จไปยัง พื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัด เพื่อให้คนจนได้เข้าถึงโอกาสด้านอาชีพเพื่อสร้างรายได้
- เกิดระบบการจัดการภัยพิบัติ (Disaster Risk Management) 3 ระยะ คือ ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติ และระยะฟื้นฟูจากภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือคนจน จำนวน 75 ครัวเรือน ไม่น้อยกว่า 350 คนต่อจังหวัด ได้แก่
- การพัฒนาระบบเตือนภัยและการสื่อสารภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย อย่างน้อย 1 ระบบ
- การสร้าง/ขยายผลองค์ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ที่สอดคล้องเหมาะสมกับการประกอบอาชีพใน พื้นที่ภัยพิบัติ อย่างน้อย 2 นวัตกรรม/ เทคโนโลยีต่อจังหวัด
- การบูรณาการแพลตฟอร์มสู้ภัยพิบัติ (Disaster Platform) กลไกภาคีท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานภารกิจ ภาคประชาสังคม ในพื้นที่
- การสร้างนักบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Development Manager: ADM) ด้านภัยพิบัติ ไม่น้อยกว่า 15 คน
- การสังเคราะห์องค์ความรู้จากปฏิบัติการที่มีผลรูปธรรมความสำเร็จ (Practical Knowledge) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่และระดับชาติ อย่างน้อย 1 ฉบับ
- การจัดตั้งศูนย์วิจัยและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี นวัตกรรมกับองค์กร/ มหาวิทยาลัยในประเทศและ ต่างประเทศ ยกระดับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อแก้ไข ปัญหาความยากจนด้วยงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 ศูนย์
- การพัฒนาหลักสูตร/ ระบบการโค้ช (Coaching) การทำงานกับคนจน เพื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากปฏิบัติการพื้นที่ที่มีรูปธรรมความสำเร็จกลไกภาคีในพื้นที่รองรับการถอนโครงการวิจัยจากพื้นที่อย่างน้อย 1 หลักสูตร
โครงการย่อยและพื้นที่ดำเนินการ 8 โครงการ
- การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
- พื้นที่: อำเภออากาศอำนวย
- หัวหน้าโครงการ: ทรงทรัพย์ อรุณกมล
- เกษตรสร้างศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับชุมชนด้วยเทคโนโลยี
- พื้นที่: อำเภอเมืองสกลนคร และอำเภอโพนนาแก้ว
- หัวหน้าโครงการ: ภานุวัฒน์ บุญตาท้าว
- การยกระดับรายได้และศักยภาพครัวเรือนคนจนด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม : การยกระดับผลผลิตจากพริกสู่เชิงพานิชย์
- พื้นที่: อำเภอกุสุมาลย์
- หัวหน้าโครงการ: สามารถ อัยกร
- การยกระดับศักยภาพเกษตรกรและแรงงานชนบทผ่านการพัฒนาอาชีพบนฐานห่วงโซ่คุณค่าที่เอื้อต่อคนยากจน : การยกระดับไข่น้ำสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
- พื้นที่: อำเภอเมืองสกลนคร
- หัวหน้าโครงการ: วิจิตรา สุจริต
- การยกระดับรายได้ครัวเรือนคนจนด้วยนวัตกรรมการจัดการแปลงกรุงเขมาด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์กึ่งอัตโนมัติด้วยระบบIOT และยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกรุงเขมาสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์
- พื้นที่: อำเภอพังโคน วานรนิวาส พรรณานิคม
- หัวหน้าโครงการ: นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์
- โมเดลแก้จน Social Safety Net เพื่อสร้างระบบสวัสดิการเกื้อกูลให้คนจน กลุ่มเปราะบาง คนด้อยโอกาสในชุมชนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
- พื้นที่: จังหวัดสกลนคร
- หัวหน้าโครงการ: พัลลภ จันทร์กระจ่าง
- Sakon Nakhon SMART Water : การพัฒนาแนวทางลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม-แล้ง ด้วยวิจัย นวัตกรรมและชุมชน ท้องถิ่น
- พื้นที่: อำเภอเมือง และกุสุมาลย์
- หัวหน้าโครงการ: ก้องภพ ชาอามาตย์
- การพัฒนาศักยภาพและยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่าโคเนื้อจังหวัดสกลนครด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
- พื้นที่: อำเภอเมือง
- หัวหน้าโครงการ: สาคร อินทะชัย