ปฏิบัติการแก้จน "โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว"
พื้นที่ดำเนินงาน บ.ดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร นำโดย อาจารย์สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย และนักวิจัยทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) และกลไกวิศวกรสังคม
กระบวนการวิจัยใช้กรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework : SLF) เริ่มจากการวิเคราะห์บริบทพื้นที่บริบทคนจนจากระบบ (P2P Application) พบว่า มีทุนดำรงชีพทำนาปรัง สอดคล้องกับบริบทชุมชน และชาวบ้านมีความจำเป็นต้องทำนาเพื่อเก็บไว้บริโภค
กระบวนการวิจัยใช้กรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework : SLF) เริ่มจากการวิเคราะห์บริบทพื้นที่บริบทคนจนจากระบบ (P2P Application) พบว่า มีทุนดำรงชีพทำนาปรัง สอดคล้องกับบริบทชุมชน และชาวบ้านมีความจำเป็นต้องทำนาเพื่อเก็บไว้บริโภค
ข้าว |
ได้ออกแบบและพัฒนาโมเดลแก้จนอาชีพทำนาปรัง โดยการนำองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างง่าย มาแก้ไขปัญหาในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ได้เร่งแก้ปัญหาสำคัญของเกษตรกร ดังนี้
- งานต้นน้ำ พัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ ช่วยให้ข้าวรับประทานได้ จากเดิมแข็งเกรดอาหารสัตว์ เตรียมยกระดับการผลิตเพื่อใช้ในทุ่งพันขัน 4,000 ไร่ พร้อมกับค้นหาสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่น และจัดระบบคลังเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมตามนิเวศน์ย่อย
- งานกลางน้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้แก่ ข้าวเม่า สบู่นมข้าว
- งานปลายน้ำ การวางระบบสวัสดิการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกเกษตรกรกู้ยืมแลกเปลี่ยนซื้อขายกันภายใน และมีโอกาสใหม่คือการพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ "พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต" ร่วมกับ local alike
แผนในอนาคตต้องพัฒนาแต่ละห่วงโซ่ให้เกิด Value จากการทำเกษตรกรรมคุณค่าสู่มูลค่า นำไปสู่ธุรกิจชุมชน ได้แก่ การจำหน่วยเมล็คพันธุ์ข้าว การแปรรูปสินค้าต่าง ๆ เช่า ข้าวเม่า สบู่ข้าว อาหาร เป็นต้น ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มจดตั้งวิสาหกิจชุมชนนาปรังมูลค่าสูง เพื่อเป็นกลไกรับรองการขับเคลื่อนกิจการชุมชนโดยชุมชน พร้อมกับภาคีทุกภาคส่วน นำโดย อบต.โพนงาม ซึ่งเป็นกลไกหน่วยงานรัฐสำคัญในการพัฒนา
ผลการดำเนินงาน มีผู้ได้รับประโยชน์หรือช่วยเหลือครัวเรือนยากจนจำนวน 55 ครัวเรือน เกิดแปลงปลูกข้าวพันธุ์มากกว่า 110 ไร่ เกิดกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีเทคโนโลยี "ตะแกรงร่อน" คัดเมล็ดพันธุ์ข้าวและชุดความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
- ปีแรก 2565 เป็นช่วงของการศึกษาทดลองและสร้างความเข้าใจแก่นแท้ระบบผลิตข้าว ผสมผสานทั้งภูมิปัญญาของชาวบ้านและนวัตกรรมสมัยใหม่ โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ค้นพบแกนนำเครือญาติทั้งผู้อยู่เบื้องหน้าและหลัง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาชุมชน สรุปกลยุทธ์ได้ว่า "รู้เขารู้เรา"
- ปีที่สอง 2566 (ซึ่งกำลังดำเนินการเป็นปัจุบัน) เริ่มวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวม กำหนดโจทย์พัฒนาสร้างเป้าหมายร่วมกับชุมชน เกิดการวางแผนดำเนินงานในระยะยาวจัดลำดับความสำคัญเชื่อมโยงภาคีมาร่วมงาน เสนอการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะกับพื้นที่และใช้ได้จริง เกิดการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง สร้างกลไกทำงานเป็นกลุ่มทางการ
- ส่วนปีที่สาม 2567 ชุมชนเริ่มระดมทุนนำร่องเดินเครื่องทางเศรษฐกิจบางช่วง เช่นการแปรรูปพร้อมกับพัฒนาศักยภาพของคนมีจิตสำนึกรักษ์ถิ่นเกิด และเผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาและยกระดับงานต่อเนื่อง
ทรัพยากรบ้านดงสาร |
ข้อมูลบริบทบ้านดงสาร
บ้านดงสาร มีที่ตั้งชุมชนติดกับแม่น้ำสงคราม (ตอนล่าง) มีพื้นที่ป่าบุ่งป่าทามหรือชาวบ้านเรียกว่า “ทุ่งพันขัน” เนื้อที่รวมทั้งสิ้น 4,625 ไร่ เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มากกว่า 100 ปี ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าบุ่งป่าทาม จึงเป็นต้นกำเนิดของแหล่งอาหารอันสมบูรณ์ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำสงคราม การตั้งถิ่นฐานของชุมชนจึงมักตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มบนที่ดอน อยู่ใกล้กับป่าทามที่อุดมสมบูรณ์บ้านดงสารเป็นหมู่บ้านที่ยากจนมาก เป็นป่าบุ่งป่าทามแต่ก่อนขนานนามว่าทุ่งน้ำทุ่งไฟ คือ ในฤดูฝนน้ำจากแม่น้ำสงครามจะท่วมทั้งหมดเหลือแต่หมู่บ้าน และในฤดูร้อนไฟจะไหม้ทุ่งหญ้าแซง บางปีที่สถานการณ์ไม่เลวร้ายมากนัก จะเป็นซุปเปอร์มาร์เกตของชาวบ้านได้พึ่งพิงธรรมชาติ เช่น หาหน่อไม้ขาย มีมันแซงขาย เกิดผักป่ากินได้ เป็นต้น ชาวบ้านจะนำมาขายหรือแลกข้าวกับชุมชนใกล้เคียง นายณัฎฐพล นิพันธ์ อดีตผู้ใหญ่บ้านดงสาร (14ก.ค.66)
ปัจจุบันปี 2566 ชาวบ้านดงสารและหมู่บ้านรอบข้าง เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทุ่งพันขัน เพื่อการเกษตรทำนาปรังช่วงหลังฤดูน้ำลดปลูกข้าวไว้บริโภค และเพื่อการดำรงชีพหาของป่า ซึ่งทรัพยากรไม่เพียงพอเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากมีชาวบ้านต่างชุมชนเช่าเหมารถเข้ามาใช้ทรัพยากรมากขึ้นทุกปี คุณครูสุวรรณ บงศ์บุตร ข้าราชการบำนาญ และปราชญ์ชาวบ้าน
จุดเริ่มต้นทำนาปรัง เมื่อปี 2518 แต่ก่อนชาวบ้านจะเรียกทำนาแซง พอได้ผลผลิตมีข้าวกินจึงขยายพื้นที่ ต่อมาเป็นทุ่งพันขัน 4,625 ไร่ ในปัจจุบัน แต่ปัญหาที่พบ คือ ข้าวแข็งเป็นเมล็ดสีเหลืองขายได้ในราคาที่ถูกมากหรือเป็นอาหารสัตว์
ณัฏฐพล นิพันธ์ (พ่อเด่น) พี่เลี้ยงกล่าวว่า "ชาวดงสารรู้ว่าทำนาปรังข้าวจะแข็ง ต้นทุนแพง ขายถูก ขาดทุน แต่จำเป็นต้องทำ พื้นที่ชนบทไม่มีอาชีพอย่างอื่นให้รับจ้าง จะไปทำงานต่างถิ่นก็อายุมากแล้ว ถ้ามีผู้รับประกันว่าเปลี่ยนอาชีพอื่นจะมีเงินซื้อข้าว เพียงพอให้ครัวเรือนมีกินและเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งปีได้ก็ยินดีที่จะเปลี่ยน ดงสารเคยหาของป่าไปขอข้าวกิน จึงรู้รสชาติความยากจนไม่น่าทดลอง แต่ปัจจุบันเริ่มมีหลายครัวเรือนปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง ฟักทอง ขายภายในชุมชน"
อ่านบทความ ประวัติศาสตร์หมู่บ้านดงสาร
ทุนดำรงชีพครัวเรือนยากจนบ้านดงสาร
ในปี 2565 ได้เก็บข้อมูลครัวเรือนยากจน บ้านดงสารหมู่ที่ 5 พบว่า จำนวนครัวเรือนยากจน 81 ครัวเรือน มีสมาชิกจำนวน 331 คน มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือน 91,248.90 บาทต่อปี ต่ำกว่าเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐครัวเรือนมีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี มีทุน5 ด้านตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) ประกอบด้วย
พันธุ์ข้าวที่ใช้คือข้าวพันธุ์ชัยนาทและปทุมธานีโดยเกษตรกรบ้านดงสารใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวนาปรัง 18 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็น 83,250 กิโลกรัม หรือ 83.25 ตันต่อพื้นที่ 4,625 ไร่ ส่วนผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ยที่ 750 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 3,468,750 กิโลกรัม หรือ 3,468 ตัน/รอบการผลิต
จากผลผลิตดังกล่าว จะเห็นว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจหรือฐานเศรษฐกิจหลักของบ้านดงสาร โดยเฉพาะข้าวนาปรังหากประเมินมูลค่าการผลิตต่อปี จะมีถึง 27,750,000 บาท หรือ เฉลี่ย 76,236 บาท/ครัวเรือน/ปี (จากราคารับซื้อข้าว 8 บาท/กิโลกรัม)
ขณะเดียวกันก็มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน หากคำนวณจากราคากลางเมล็ดพันธุ์ข้าว คือ 12.5 บาท/กิโลกรัม เกษตรบ้านดงสารลงทุนกับเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ต่ำกว่า 1,040,625 บาท/รอบการผลิต ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินมหาศาลสำหรับชุมชน
ในปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ข้าวขาดตลาด เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวด้วยกันเอง ซึ่งมีความเสี่ยงกับสิ่งเจือปนสูงทั้งสายพันธุ์ผสมและหญ้าวัชพืช ถ้าชาวบ้านสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและจัดการเป็นอุตสหกรรมของชุมชนได้ เป็นนวัตกรรมแก้จนที่ช่วยเหลือเกษตรกรมากกว่า 350 ครัวเรือน ในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่
อ.สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลการดำเนินงานปี 2565 มีผู้เข้าร่วม 30 คน เกิดแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นที่ 40 ไร่ สมาชิกมีข้อตกลงคืนเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละ 25 กิโลกรัม / 1 กระสอบ หรือเป็นเงิน 300 บาท รวบรวมเป็นกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีเทคโนโลยี "ตะแกร่งร่อน" คัดเมล็ดพันธุ์อย่างง่ายใช้
พ่อนุกูล ตัวแทนกลุ่มทำนาปรัง เล่าความเป็นมาการทำนาปรัง "ตอนแรกพูดคุยกัน ชาวบ้านเสนอความต้องการอยากทำนาปรังเพื่อขายเป็นข้าวเม่า ได้ไปสอบถามกลุ่มแปรรูปข้าวเม่า จึงมีคำแนะนำให้เปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่หอมนุ่มกว่านี้ถึงจะแปรรูปข้าวเม่าได้ กลับมาวิเคราะห์ร่วมกับทีมนักวิจัย ตกลงทดลองปลูกข้าวนาปรังทำเมล็ดพันธุ์ให้หอมนุ่ม และทำเป็นกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับชาวบ้าน พร้อมกับมีแนวทางจัดหารวบรวมพันธุ์ท้องถิ่น เพื่อหมุนเวียนให้เกษตรกรทำนาปรังในพื้นที่ทุ่งพันขัน 4,000 ไร่"
นายณัฏฐพล นิพันธ์ พี่เลี้ยงทำนาปรัง เล่าความเปลี่ยนแปลงจากการนำเทคโนโลยีไปใช้แล้วได้ผลกับตัวเอง "ทำนาปรังใช้พันธุ์หอมมุกดา หว่าน 5 ไร่ ดูแลแปลงคัดต้นพันธุ์และใช้ตะแกรงร่อนเพื่อคัดเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ นำบางส่วนไปสีมานึ่งกินรู้สึกว่าข้าวหอมนิ่มมาก ได้นำเมล็ดที่คัดพันธุ์มาหว่านนาปี ข้าวหนึ่งเมล็ดแตกกอ ออก 10 - 18 ต้นในหนึ่งกอ ได้วิธีคัดพันธุ์ใหม่แล้วจะไปบอกต่อ ขอบคุณอาจารย์จาก ม.ราชภัฏสกลนคร"
กำลังอยู่ในกระบวนการวิจัย ยังไม่สามารถนำข้อมูลไปอ้างอิงไดั จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารการรับรู้
เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ blogOnepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
- ทุนมนุษย์ มีอาชีพร้อยละ 48.03 ได้แก่ เกษตรกร รับจ้างนอกภาคการเกษตร ไปทำงานต่างถิ่นเป็นลูกจ้างโรงงานบริษัท และรับจ้างภาคการเกษตร
- ทุนกายภาพ ครัวเรือนมีที่ดินทำกินร้อยละ 50.61 มีปัญหาที่ดินเอกสารสิทธิ์ น้ำไม่เพียงพอ เข้าถึงที่ทำกินยาก
- ทุนการเงิน ครัวเรือนทำนาปรังร้อยละ 59.25 เลี้ยงควาย ทำประมงน้ำจืด มีทรัพย์สินเพื่อการเกษตรประกอบอาชีพ ได้แก่ รถไถขนาดเล็ก เครื่องสูบน้ำ เครื่องตัดหญ้า ยุ้งฉาง เครื่องพ่นเมล็ดพันธุ์ มีหนี้สิน ธกส. และธนาคารพาณิชย์
- ทุนกายภาพ เข้าใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติเพื่อสร้างรายได้ทุกครัวเรือน ที่ทำกินอยู่ที่พื้นที่อุทกภัย ภัยแล้ง
- ทุนสังคม ครัวเรือนเข้าถึงกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ปรึกษาหารือช่วยเหลือกันตามประเพณี ครัวเรือนไม่ได้นำองค์ความรู้จากผู้รู้ในชุมชนร้อยละ 76.54 ใช้ภูมิปัญหาองค์ความรู้ในชุมชนแก้ปัญหา
นาข้าว บ้านดงสาร |
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการทำนาปรังบ้านดงสาร
จากการวิเคราะห์มูลค่าการผลิตทำนาปรังบ้านดงสาร เริ่มต้นจากการไถดะ 1 ครั้ง แล้วทำนาหว่าน เมื่องอกแล้ว 25 วัน จึงสูบน้ำเข้าแปลงและหว่านปุ๋ยครั้งแรก การสูบน้ำเข้าแปลงสูบอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง มากที่สุดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตลอดช่วง 4 เดือน ส่วนปุ๋ยรับรวงข้าวหว่านสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวพันธุ์ข้าวที่ใช้คือข้าวพันธุ์ชัยนาทและปทุมธานีโดยเกษตรกรบ้านดงสารใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวนาปรัง 18 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็น 83,250 กิโลกรัม หรือ 83.25 ตันต่อพื้นที่ 4,625 ไร่ ส่วนผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ยที่ 750 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 3,468,750 กิโลกรัม หรือ 3,468 ตัน/รอบการผลิต
จากผลผลิตดังกล่าว จะเห็นว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจหรือฐานเศรษฐกิจหลักของบ้านดงสาร โดยเฉพาะข้าวนาปรังหากประเมินมูลค่าการผลิตต่อปี จะมีถึง 27,750,000 บาท หรือ เฉลี่ย 76,236 บาท/ครัวเรือน/ปี (จากราคารับซื้อข้าว 8 บาท/กิโลกรัม)
ขณะเดียวกันก็มีต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน หากคำนวณจากราคากลางเมล็ดพันธุ์ข้าว คือ 12.5 บาท/กิโลกรัม เกษตรบ้านดงสารลงทุนกับเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ต่ำกว่า 1,040,625 บาท/รอบการผลิต ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินมหาศาลสำหรับชุมชน
ในปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ข้าวขาดตลาด เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวด้วยกันเอง ซึ่งมีความเสี่ยงกับสิ่งเจือปนสูงทั้งสายพันธุ์ผสมและหญ้าวัชพืช ถ้าชาวบ้านสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและจัดการเป็นอุตสหกรรมของชุมชนได้ เป็นนวัตกรรมแก้จนที่ช่วยเหลือเกษตรกรมากกว่า 350 ครัวเรือน ในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่
กิจกรรมโมเดล คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว
การพัฒนาอาชีพรายได้ครัวเรือน ปี 2565
ปฏิบัติการโมเดลแก้จน (Operating Model) พัฒนาอาชีพทำนาปรัง "ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว" นำคนจนในระบบ 25 ครัวเรือน และมีพี่เลี้ยง 5 คน รวมมีผู้รับประโยชน์ 30 ครัวเรือน เกิดแปลงนำร่องปลูกข้าวพันธุ์ 40 ไร่ ในพื้นที่ทุ่งพันขัน ได้จัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว 1,000 กิโลกรัมหรือ 1 ตัน มีเทคโนโลยี "ตะแกรงร่อน" คัดเมล็ดข้าวพันธุ์ที่สมบรูณ์อ.สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลการดำเนินงานปี 2565 มีผู้เข้าร่วม 30 คน เกิดแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นที่ 40 ไร่ สมาชิกมีข้อตกลงคืนเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละ 25 กิโลกรัม / 1 กระสอบ หรือเป็นเงิน 300 บาท รวบรวมเป็นกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีเทคโนโลยี "ตะแกร่งร่อน" คัดเมล็ดพันธุ์อย่างง่ายใช้
พ่อนุกูล ตัวแทนกลุ่มทำนาปรัง เล่าความเป็นมาการทำนาปรัง "ตอนแรกพูดคุยกัน ชาวบ้านเสนอความต้องการอยากทำนาปรังเพื่อขายเป็นข้าวเม่า ได้ไปสอบถามกลุ่มแปรรูปข้าวเม่า จึงมีคำแนะนำให้เปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่หอมนุ่มกว่านี้ถึงจะแปรรูปข้าวเม่าได้ กลับมาวิเคราะห์ร่วมกับทีมนักวิจัย ตกลงทดลองปลูกข้าวนาปรังทำเมล็ดพันธุ์ให้หอมนุ่ม และทำเป็นกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับชาวบ้าน พร้อมกับมีแนวทางจัดหารวบรวมพันธุ์ท้องถิ่น เพื่อหมุนเวียนให้เกษตรกรทำนาปรังในพื้นที่ทุ่งพันขัน 4,000 ไร่"
นายณัฏฐพล นิพันธ์ พี่เลี้ยงทำนาปรัง เล่าความเปลี่ยนแปลงจากการนำเทคโนโลยีไปใช้แล้วได้ผลกับตัวเอง "ทำนาปรังใช้พันธุ์หอมมุกดา หว่าน 5 ไร่ ดูแลแปลงคัดต้นพันธุ์และใช้ตะแกรงร่อนเพื่อคัดเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ นำบางส่วนไปสีมานึ่งกินรู้สึกว่าข้าวหอมนิ่มมาก ได้นำเมล็ดที่คัดพันธุ์มาหว่านนาปี ข้าวหนึ่งเมล็ดแตกกอ ออก 10 - 18 ต้นในหนึ่งกอ ได้วิธีคัดพันธุ์ใหม่แล้วจะไปบอกต่อ ขอบคุณอาจารย์จาก ม.ราชภัฏสกลนคร"
การพัฒนาอาชีพรายได้ครัวเรือน ปี 2566
อ.สายฝน กล่าวต่อว่า ในปี 2566 ได้รับทุนวิจัยต่อเนื่อง เพิ่มกลุ่มเป้าหมายรวมเป็น 55 ครัวเรือน (ครัวเรือนเป้าหมาย50, พี่เลี้ยง5) มีพื้นที่แปลงปลูกเมล็ดพันธุ์อย่างน้อย 55 ไร่ และแปลงต้นแบบ
สุวรรณ บงศ์บุตร (ครูแดง) พี่เลี้ยงและอนาคตประธานวิสาหกิจชุมชน สรุปข้อตกลงการทำนาปรังกับสมาชิกว่า "กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกทั้งหมดคืนเงินสดปัจจุบันมีเงินทุน 12,000 บาท ในฤดูกาลผลิต 2566 นี้ สมาชิกเปลี่ยนแปลงข้อตกลงคืนเมล็ดพันธุ์ข้าว ไร่ละ 60 ก.ก. / 2 กระสอบ หรือเป็นเงิน 600 บาท คาดการณ์มีทุนเพิ่ม 3,300 ก.ก. หรือเงิน 33,000 บาท ส่วนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนจะยื่นจดทะเบียนเดือนมกราคม 2567 รูปแบบดำเนินการครอบคลุมหลายอาชีพ หรือเป็นกลุ่มโดยชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต"
ยกระดับการดำเนินงาน ได้แก่ ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว การดูแลติดตามแปลงปลูก พัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว การเพิ่มมูลค่าแปรรูป “ข้าวเม่า” เชื่อมบ้านนายอ ต.อากาศ พัฒนาเป็นแหล่งการท่องเที่ยวชุมชน โดย local alike “พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต” และเสนอโครงการเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลโพนงาม
การทำนาปรังจึงเป็นทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายซื้อข้าวในครัวเรือนได้ครึ่งหนึ่ง พื้นที่ชนบทไม่มีทางเลือกมากนักอาชีพเสริมต่าง ๆ ทำได้แค่เหมาะสมกับกำลังซื้อของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเกิดแนวคิดอยากพัฒนาทุ่งพันขันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ น่าจะมีผู้คนเข้ามาซื้อสินค้าและบริการในชุมชน คุณครูสุวรรณ บงศ์บุตร
สุวรรณ บงศ์บุตร (ครูแดง) พี่เลี้ยงและอนาคตประธานวิสาหกิจชุมชน สรุปข้อตกลงการทำนาปรังกับสมาชิกว่า "กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกทั้งหมดคืนเงินสดปัจจุบันมีเงินทุน 12,000 บาท ในฤดูกาลผลิต 2566 นี้ สมาชิกเปลี่ยนแปลงข้อตกลงคืนเมล็ดพันธุ์ข้าว ไร่ละ 60 ก.ก. / 2 กระสอบ หรือเป็นเงิน 600 บาท คาดการณ์มีทุนเพิ่ม 3,300 ก.ก. หรือเงิน 33,000 บาท ส่วนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนจะยื่นจดทะเบียนเดือนมกราคม 2567 รูปแบบดำเนินการครอบคลุมหลายอาชีพ หรือเป็นกลุ่มโดยชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต"
ยกระดับการดำเนินงาน ได้แก่ ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว การดูแลติดตามแปลงปลูก พัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว การเพิ่มมูลค่าแปรรูป “ข้าวเม่า” เชื่อมบ้านนายอ ต.อากาศ พัฒนาเป็นแหล่งการท่องเที่ยวชุมชน โดย local alike “พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต” และเสนอโครงการเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลโพนงาม
การทำนาปรังจึงเป็นทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายซื้อข้าวในครัวเรือนได้ครึ่งหนึ่ง พื้นที่ชนบทไม่มีทางเลือกมากนักอาชีพเสริมต่าง ๆ ทำได้แค่เหมาะสมกับกำลังซื้อของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเกิดแนวคิดอยากพัฒนาทุ่งพันขันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ น่าจะมีผู้คนเข้ามาซื้อสินค้าและบริการในชุมชน คุณครูสุวรรณ บงศ์บุตร
ชาวบ้านดงสาร |
กำลังอยู่ในกระบวนการวิจัย ยังไม่สามารถนำข้อมูลไปอ้างอิงไดั จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารการรับรู้
เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ blogOnepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
{fullWidth}