หลากกลยุทธ์และกลวิธี หลายเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์คำถามงานวิจัย การพัฒนาโมเดลแก้จนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ มีเป้าหมายเพิ่มทักษะอาชีพเพาะเห็ด มีรายได้เพิ่มขึ้น 20% สร้างระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมเพิ่มโอกาสสร้างรายได้สม่ำเสมอ
ในโมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ นำร่องรอบแรก 40,000 ก้อนสำเร็จแล้ว ช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยใช้กระบวนการสร้างสวัสดิการการเรียนรู้ เพิ่มทักษะการอัดและผลิตก้อนเห็ด ด้วยระบบและกลไกของวิสาหกิจชุมชนหรือระบบพี่เลี้ยง
คำที่นักวิจัยอยากฟังมากที่สุดในกระบวนการเพิ่มทักษะผลิตก้อนเห็ดคือ "กลุ่มเราสามารถผลิตเองได้" เป็นคำยืนยันมาจากสมาชิกกลุ่มชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบะหว้า
โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนโมเดลผ่านภูมิปัญญาประเพณี โดย “ชุมชนมีส่วนร่วม” เกิดระบบนิเวศธุรกิจชุมชนเป็นเจ้าของ มุ่งเน้นบริหารจัดการแผนธุรกิจ (เพื่อสังคม) ตามแนวคิด Pro-poor value chain



ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ