
ฝันในฝัน อยากให้ข้าวนาปรังแปรรูปข้าวเม่าได้
"แปรรูปข้าวเม่า" เป็นหนึ่งในภาพฝันของชาวดงสาร เพื่อพัฒนาสินค้าช่วงกลางน้ำ ตามที่วิเคราะห์ Supply Chain การทำนาปรัง จับคู่ค้ากับกลุ่มแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ เขียนใส่แผนปฏิบัติการตัวใหญ่ ๆ ไว้ นี่คือเป้าหมายที่จะเดินไป
แต่ปัจจุบันอยู่กับความเป็นจริง คือหาวิธีจัดการเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้ เพราะเป็นรากฐานสำคัญ คือบันใดขั้นแรก เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ เช่นการแปรรูปข้าวเม่า ปฏิบัติการโมเดลแก้จนในปีที่ผ่านมา (2565) จึงเน้นสร้างการรับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญ การเก็บพันธุ์ข้าว (คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว)
เพื่อไม่พลาดทุกโมเม้น อ่านย้อนหลังได้ที่..โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว
ระหว่างรอทุกอย่างเข้าระบบ ผู้ก่อการดีทีมพี่เลี้ยง เดินหน้าขยับงานตามวิสัยทัศน์ คือพัฒนาดงสารเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สร้างสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ในปฏิบัติการโมเดลแก้จน ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในปี 2566
ดูงานนายอ แล้วมามองศักยภาพทีมดงสาร
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 คงถึงเวลาที่เหมาะสมก่อนลงมือทำนาปรัง ทีมผู้นำพี่เลี้ยง ครูแดง พ่อเด่น ชาวกันไปดูงานเพิ่มช่องทางแปรรูปข้าว ซึ่งนาน ๆ พญาช้างเผือกจะออกจากป่าดง (สาร) ไปถึงดินแดนถิ่นนายอ มีชื่อเสียงลือเรื่องข้าวเม่าหวาน
กลุ่มแปรรูปข้าวเม่าบ้านนายอ ต.อากาศ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ถือเป็นสตาร์ทอัพชุมชนที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ คือต้นแบบการสร้างเศรษฐกิจชุมชน ( Local Economy ) โดยชุมชนมีส่วนร่วม สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่ ครัวเรือนมีกำไรมากกว่า 200,000 บาทต่อปี
บรรยากาศเหมือนกับเสียบปลั๊กไฟ แรงดัน 1,000 โวล์ สอบถามข้อมูลการทำข้าวเม่าทุกขั้นตอน ส่วนกลุ่มผู้ผลิตข้าวเม่า ยินดีให้ข้อมูลทุกอย่าง ต้องการข้าวนาปรังมาแปรรูปจำนวนมาก ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลจึงเห็นโอกาสเด็ดของดงสาร ที่ทำนาปรังมากกว่า 4,000 ไร่
สิ่งที่ประทับใจคือ เทคโนโลยีช่วยลดแรงงานทุกอย่าง ชาวบ้านเป็นผู้ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการ โดยมีช่างคือลูกหลานที่เรียนจบมาทำให้ เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่แท้จริง
สัญญาใจเรียนรู้ ข้าวเม่านาปรังบ้านดงสาร
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
เสริมความรู้ ด้านธุรกิจเชื่อมห่วงโซ่อุปทาน ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในอำเภอ
ตอบลบขอบคุณที่ติดตามครับ
ลบ