ประชุมการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนกับ "Local Alike"


วันที่ 19 มิถุนายน 2566 นักวิจัย โมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูงฯ มรภ.สกลนคร จัดประชุมเชื่อมโยงนวัตกรรมแก้จน “แนวทางการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศน์ เห็ด ปลา ป่า ข้าว” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

โดยมี ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาการราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวเปิดการประชุม และกล่าวต้อบรับวิทยากร คุณสมศักดิ์ บุญคำ CEO และผู้ก่อตั้ง Local Alike พร้อมด้วยคณะทำงานบ้านดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร และผู้เข้าร่วมผ่านระบบ Zoom Meeting ทั่วประเทศ จำนวน 50 คน

อาจารย์สายฝน ปุนหาวงค์ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้รายงานว่าการพัฒนาชุมชน ต้นน้ำ กลางน้ำ ในพื้นที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชาวบ้าน มีองค์ความรู้และมีเครื่องมือสามารถบริหารจัดการได้ สถานการณ์ผลิตสินค้าได้แต่ยังขาดช่องทางการตลาด งานวิจัยจึงพัฒนาปลายทางโดยใช้เครื่องมือในการท่องเที่ยวชุมชน Local Alike เป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อยกระดับอาชีพเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจหมุนในชุมชนหลายรอบ สร้างอาชีพให้ชุมชนทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง แก้ปัญหาความยากจนอย่างแม่นยำ

คุณสมศักดิ์ บุญคำ Local Alike คิดเสมอว่า "ในเชิงธุรกิจการพัฒนาชุมชนหากไม่เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อย่าเรียกว่าการพัฒนาเรียกว่าการกุศล" ให้ความมั่นใจกับชาวบ้านดงสารในการพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ตอบคำถาม การจัดการความคาดหวังของชุมชน ต้องมีแผนที่ชัดเจน แผนทำทันที แผนทำระยะกลาง แผนทำระยะยาว การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินชุมชนต้องใช้คนให้เป็นต้องมีแผนให้ชัดเจนเข้าใจตรงกัน

 
ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา

คุณสมศักดิ์ บุญคำ



พิธีเปิด
ตอนที่ 1
ตอนที่ 2
ตอนที่ 3





เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า