ถอดบทเรียนประเมินผลโมเดลแก้จน ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบ้านบะหว้า


วันที่ 12 พ.ค. 2567 อาจารย์สายฝน ปุนหาวงค์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนบริหารโครงการและงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หัวหน้าโครงการวิจัยโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ฯ) และ อาจารย์อรอนงค์ ขันเดช รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จัดเวทีติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนโมเดลแก้จน ที่บ้านบะหว้า อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

ในงานมีผู้แทนจากภาคีเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยน (Poverty Forum) ได้แก่ สนง.เกษตรอำเภออากาศอำนวย เทศบาลตำบลบะหว้า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอำเภออากาศอำนวย และเครือข่ายพี่เลี้ยงในปฏิบัติการแก้จน ต.โพนงาม ต.ท่าก้อน เข้าร่วมเพื่อสะท้อนข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับครัวเรือนเป้าหมาย กลุ่มอาชีพ และชุมชน/สังคม จากกระบวนการวิจัยโมเดล “ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ

ปฏิบัติการวิจัยโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ฯ มีกลยุทธ์วิจัยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาและยกระดับ 3 ขั้น ได้แก่ 1. ใฝ่เรียนรู้ 2. สู้ชีวิต และ 3. พิชิตจน กระบวนการประเมินดูการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการผลิต การบริหารการเงิน และการบริหารจัดการความเสี่ยง

ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบ้านบะหว้า ได้รับการเพิ่มทักษะผ่านระบบและกลไกพี่เลี้ยงวิสาหกิจชุมชน (สวัสดิการการเรียนรู้) สามารถตอบขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้ถูกต้อง มีแรงงานหลักในระบบผลิตแนะนำคนอื่นได้ 3 คน รวมถึงมีรายได้จากการจำหน่วยเห็ดใน 2 ไตรมาส รวมเงินฝากในบัญชีธนาคาร ธกส. 70,000 บาท (6พ.ค.67) มีการกำหนดโครงสร้างแบ่งหน้าที่การทำงาน และจัดระบบสวัสดิการเกื้อกูลในชุมชน

ผลการประเมินผ่านระดับขั้นที่ 1 เตรียมยกระดับการผลิตด้วยเทคโนโลยีเป็นผู้ผลิตก้อนเห็ดและเปิดดอก สู้ชีวิตต่อไปเป้าหมายคือพิชิตความจน


เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)

ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า