เมื่อวันที่ 17 ก.พ.67 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก้องภพ ชาอามาตย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และทีมนักวิจัย พร้อมด้วย นายสุทธิเมศวร์ บุญแสนกุลธวัช นายอำเภออากาศอำนวย ต้อนรับ ดร.อโศก พลบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ และคณะจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ภายในงานมีท่าน พัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบลบะหว้า นายกเทศมนตรีตำบลโพนแพง นายกอบต.โพนงาม ผู้ใหญ่บ้านบ้านบะหว้า ผู้ใหญ่บ้านบ้านดงสาร ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดสกลนคร ภาคีเครือข่ายท้องถิ่น ท้องที่ และกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้การต้อนรับ ด้วยความอบอุ่นยิ่ง "วัฒนธรรมอีสานที่ฮักแพง"
โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบ้านบะหว้า
งานไม่ใหญ่แน่นะวิ กลุ่มบ้านบะหว้า บอกว่าไม่ได้เตรียมงานอะไรมาก ต้อนรับแบบง่าย ๆ ทำเอานักวิจัยเขินทำตัวไม่ถูก เพราะงานนี้ไม่มีสคริปพิธีการ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ย้ำชัดว่าชุมชนมีระบบและกลไกภายในเข้มแข็งมาก และสร้างสรรค์อีกด้วย ดูสินำเห็ดจัดแต่งใส่ตะกร้ามีผักแซมมาด้วย
โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ ตั้งใจจะพัฒนาให้ชุมชน บริหารจัดการกลุ่ม ในรูปแบบอุตสาหกรรมชุมชน โดยชุมชนเป็นตัวของ พัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจเกื้อกูลครัวเรือนฐานราก ถ้าจะสำเร็จได้ต้องมีผู้นำที่เข้มแข็งมาก เป็นนักพัฒนา ทันกลไกของตลาด และมีความไว้ใจจากสมาชิก
ที่จำเป็นต้องมีผู้นำที่เสียสละ เพราะต้องบริหารจัดการกลุ่ม การเงิน และดูแลระบบผลิตเก็บดอกเห็ดขายทุกวัน จนมีเงินแล้ว 40,000 กว่าบ้าน แต่ที่น่ายินดีคือสมาชิกมีทักษะองค์ความรู้การเพาะก้อนเชื้อเห็ด จากพี่เลี้ยงวิสาหกิจถ่ายทอดโดยการปฏิบัติจริง ชุมชนบะหว้ามีศักยภาพสามารถยกระดับการพัฒนา พร้อมรับการสนับสนุนตามลำดับ แต่ครั้งนี้น่าจะเป็น "ผู้ผลิตก้อนเชื้อเห็ด" ได้แล้ว
โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์บ้านบ้านดงสาร
พอพูดถึงการทำนา แล้วรู้สึกเจ็บปวดแทนชาวบ้านดงสาร ไม่มีช่องทางไหนให้เลือกบ้างเลย ชาวบ้านนำพันธุ์ข้าวที่ไม่มีคุณภาพ มาหว่านนาปรัง ยังไม่มีการจัดการองค์ความรู้เรื่องพันธุ์ข้าว ปลูกข้าวนาปรังแท้ ๆ แต่ไม่ได้กิน ต้องขายข้าวในแปลง ราคาเท่ากับอาหารสัตว์ ก.ก. ละ 8-10 บาท จากนั้นไปซื้อข้าวสาร กิโลละ 30 บาทมากิน เอาชีวิตรอดได้เพียงไม่กี่เดือน ต้นทุน ทรัพยากรธรรมชาติป่าปุ่งป่าทาม จึงเป็นลมหายใจของชาวบ้าน
พ่อเด่น บอกว่า วันนี้ชาวบ้านดงสารรู้สึกอบอุ่นแล้ว มีหน่วยงานเข้ามาพัฒนาต่อเนื่อง และย้ำคำเดิมว่าทางเลือกอาชีพใหม่ ถ้าประกันรายได้หรือซื้อข้าว พอให้ครอบครัวกินอิ่มตลอดปี ก็น่าสน
เหลือวิธีการไหน ให้นักวิจัยปฏิบัติการมีเวลา 1 ปีได้บ้าง ถ้าไม่ลุยทำในสิ่งที่ชาวบ้านเจ็บปวด ก็ย้ายพื้นที่วิจัย กระทั่งเดินหน้าเต็มพลังทุกกลยุทธ์ จนเกิดผลในวันนี้ สิ่งที่ใช้เทคโนโลยี ก็ยังก้าวข้ามไม่พ้น คือภูมิปัญญาความเชี่ยวชาญของชาวบ้าน เมื่อ 30-50 ปี พอมาสังเคราะห์งานจริง ๆ แล้ว ก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ
ชาวบ้านตระหนักการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยใช้เทคโนโลยีสุดคลาสสิก ตะแกร่งรอน ราคา 1,200 บาท แบบมีตำนาน ชาวบ้านรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันจัดการด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว ช่วยลดต้นทุนในครัวเรือน บางคนนำข้าวมานึ่งนิ่มและทานได้ มีโอกาศเพิ่มช่องทางการแปรรูปข้าวเม่า กับบ้านนายอ ตั้งเป้าหมายผลิตเมล็ดพันธุ์ ผลักดันเรื่องชะลอการขาย
คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว ตั้งใจเป็นกลไกสวัสดิการของเกษตรกรทำนาปรัง เข้าถึงเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพครอบคุมทั้ง 4,000 ไร่ รวมถึงปัจจัยการผลิตต่าง ๆ บริการเทคโนโลยีในการผลิต เป็นศูนย์เรียนรู้และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ชาวบ้านมีโอกาสใหม่ เตรียมขับเคลื่อนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชุมชน “พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต”
ชาวดงสารพานักวิจัย กินข้าวป่าทุ่งพันขัน
ชาวบ้านดงสาร จัดอาหารต้อนรับ ย่างปลาสด ๆ จากหนอง ก้อยกุ้ง ส้มตำ จัดกินข้าวกลางป่าปุ่งป่าทาม ชาวบ้านมีความสุขมาก ต้อนรับคณะติดตามงานด้วยผ้าขาวม้า แนะนำสถนาที่ความเป็นมาบ้านดงสาร ทานข้าวเที่ยงบรรยากาศเย็นสบาย พออิ่มท้องจึงออกไปติดตามดูแปลงปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ชาวบ้านเตรียมต้นใม้ ให้คณะที่ติดตามงานวิจัย ได้ปลูกต้นเป็นประวัติในการพัฒนาหมู่บ้าน
การดำเนินงานโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง
ตามกลุ่มอาชีพในพื้นที่อำเภออากาศอำนวย ประกอบด้วย โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ โมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว ผู้รับประโยชน์จากโครงการในพื้นที่จำนวน 355 ครัวเรือน ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งหมด 11 ชิ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาคีท้องถิ่น ท้องที่ และนักศึกษาวิศวกรสังคม ร่วมปฏิบัติการโมเดลแก้จน
นอกจากนี้ได้หารือขับเคลื่อนงานมิติเศรษฐกิจฐากรากระดับอำเภอ ในประเด็น เห็ด ข้าว โค และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การติดตามหนุนเสริมเป็นบรรยากาศเหมือนเวที Poverty Forum ได้กำหนดเป้าหมายขับเคลื่อนงาน ยกระดับรายได้สู่การแก้จนทั้งอำเภออย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์
เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)