
Pro-poor value chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่าที่เอื้อต่อคนยากจน เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อให้กลุ่มคนยากจนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากกระบวนการผลิตและการตลาด
แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ที่ได้จัดทำแนวทางและคำแนะนำในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่เอื้อต่อคนยากจน
การนำแนวคิด Pro-poor Value Chain มาประยุกต์ใช้ จะช่วยให้กลุ่มคนยากจนมีโอกาสเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านกลไกของตลาดอย่างยั่งยืน
กรอบแนวคิดห่วงโซ่มูลค่า
ห่วงโซ่คุณค่า เป็นกรอบแนวคิดที่อธิบายถึงวงจรที่สมบูรณ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่การได้รับวัตถุดิบมาตลอดจนถึงกระบวนการส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายยังตลาด และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ในระหว่างนั้นทั้งหมด
การทำงานของห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก และกิจกรรมรอง การวิเคราะห์แตกรายละเอียดงานหรือกิจกรรมออกเป็นย่อย ๆ และวิเคราะห์แต่ละงานอย่างละเอียด ด้วยการเปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินแต่ละงานกับเวลา เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงแนวโน้ม รูปแบบ และส่วนที่ต้องปรับปรุง

การประยุกต์ใช้ห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาเป็นห่วงโซ่คุณค่าคนจน (Pro-Poor Value Chain)
ส่งเสริมการรวมและการเพิ่มขีดความสามารถ ของกลุ่มคนจนในห่วงโซ่คุณค่า ด้วยมุมมองที่จะเพิ่มรายได้และเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงตระหนักรู้ถึงความยากลำบากและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่กลุ่มคนจนประสบในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากลุ่มคนจนมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าอย่างแท้จริง และผู้ผลิตรายย่อยได้ประโยชน์ในส่วนแบ่งการตลาด ขอแนะนำหลักการมีส่วนร่วมเบื้องต้น 5 ประเด็น ดังนี้
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย แยกตามระดับที่แต่งต่างกัน ขึ้นกับบริบทของแต่ละพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เช่น กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชนและกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อช่วยให้คนจนเข้าถึงตลาด ทุน เทคโนโลยี และข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาทักษะและกิจการ
- ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ตอบสนองต่อความต้องการตลาด กิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า และมีความคุ้มทุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนให้คนจนได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม
- ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อธรรมชาติ มีแนวคิดต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนเปลี่ยงสภาพอากาศ
- ความมั่นคงทางอาหาร ความตระหนักรู้ในการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความปลอดภัย เข้าถึงตลาด และสร้างระบบที่ไม่ทำลายธรรมชาติและคำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาว
- แนวทางการมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมในการตัดสินใจ ฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้สามารถเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง การจัดทำโครงการ Pro-poor Value Chain "โมเดลแก้จนชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ"
- นำกลุ่มเป้าหมายเข้าห่วงโซ่มูลค่าเพาะเห็ด จ้างแรงงานผู้สูงอายุหรือเยาวชนบรรจุก้อนเชื้อเห็ด ด้วยกระบวนการ "การจัดสวัสดิการการเรียนรู้" คือชวนวิสาหกิจชุมชนหรือกิจการที่เข้มแข็งเป็นพี่เลี้ยง
- รายละเอียดการจ้างแรงงาน ลักษณะจ้างงานแบบรอบการผลิตเป็นรายวัน แต่ละรอบผลิตประมาณ 20,000 ก้อน
- กำลังผลิดก้อนเชื้อเห็ดวันละ 1,300 ก้อน รับแรงงานจำนวน 5 คน
- สามารถร่วมลงทุนผลิตก้อนเชื้อเห็ดในราคาต้นทุนเพื่อไปจำหน่าย หรือเปิดก้อนเชื้อเห็ดเลี้ยงให้เกิดดอกจำหน่ายเห็ดสด
- ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ได้แก่
- การจัดการก้อนเชื้อเห็ดเก่า นำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาใช้ซ้ำ คือ ก้อนเชื้อเห็ดขอนขาวที่หมดอายุการเกิดดอก นำขี้เลื่อยเก่ามาบรรุก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ในอัตตาขี้เลื่อยเก่าและใหม่ 50:50
- ผลิตก้อนเชื้อเห็ดจากฟาง
- ปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า
- ความมั่นคงทางอาหาร
- เห็ดเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน เส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ
- เห็ดมีความต้องการบริโภคสูง นอกฤดูการเห็ดป่าเกิด เห็ดเพาะเลี้ยงขาดตลาดและราคาสูง
- แนวทางการมีส่วนร่วม
- ถ่ายทอดทักษะการบรรจุก้อนเชื้อเห็ดฟรี
- การรวมกลุ่มเป็นกิจการในชุมชน จัดตั้งกองทุนปัจจัยการผลิต




