เตรียมต่อยอด "เลี้ยงกบ" ในบ่อดินบนพื้นที่แปลงรวม ด้วยงานวิจัยแก้จน

เตรียมต่อยอด "เลี้ยงกบ" แปลงรวม ด้วยการวิจัยแก้จน มรภ.สกลนคร

วันที่ 3 ธ.ค. 2567 นักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร ทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จนอารยเกษตร นำโดย อ.ภานุวัฒน์ บุญตาท้าว และคณะ ลงพื้นที่ศึกษาระบบผลิตการเกษตรและวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อออกแบบปฏิบัติการอาชีพพร้อมทั้งหารือแนวทางการนำกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมดำเนินการ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนมะขามป้อม เทศบาลนครสกลนคร โดยมีประธานศูนย์ฯ สมาชิก และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนมะขามป้อม จัดตั้งกลุ่มเมื่อปี พ.ศ.2563 ในที่ดินสาธารณะประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน (ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์) เนื้อที่ประมาณ 17 ไร่ โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร

ปัจจุบันมีเทศบาลนครสกลนครและกรรมการในชุมชน 15 คน บริหารจัดการและจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์พร้อมกับตั้งธรรมนูญชุมชนขึ้นเพื่อปฏิบัติร่วมกัน ดำเนินกิจกรรมการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกสมุนไพร และฐานการเรียนรู้ ตามแนวคิดเศรษกิจพอเพียง

ศักยภาพและความต้องการของศูนย์ คือ "การเลี้ยงกบ" ซึ่งเป็นอาชีพที่เกิดรายได้จริงอย่างเชิงประจักษ์ มีสมาชิกเลี้ยงกบแบบบ่อดินปูด้วยพลาสติก ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 10 บ่อ

การเลี้ยงกบในหนึ่งรอบการผลิตมีระยะเวลาประมาณ 3 - 4 เดือน จับจำหน่าย 3 - 5 ตัวต่อกิโลกรัม รวมต้นทุนประมาณ 10,000 บาทต่อบ่อ มีรายได้จากการขายกบ 16,000 บาทต่อบ่อ จะมีกำไร 6,000 บาทต่อบ่อ

สำหรับอุปสรรคที่สำคัญ คือ ขาดพันธุ์ลูกอ็อดและพันธุ์กับตัวเล็ก ต้นทุนอาหารแพง ใช้น้ำมาก ขาดเงินลงทุน

เตรียมต่อยอด "เลี้ยงกบ" ในบ่อดินบนพื้นที่แปลงรวม ด้วยงานวิจัยแก้จน

จากการวิเคราะห์อุปสรรคดังกล่าว นักวิจัยมีแนวทางสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา คือ สนับสนุนพันธุ์ลูกอ็อด ติดตั้งระบบบริหารจัดการน้ำด้วยโซ่ล่าเซลล์ เพิ่มทักษะการเพาะพันธุ์ลูกอ็อด เพิ่มทักษะทำอาหารเลี้ยงกบ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้รับทุนวิจัยจาก บพท. กระทรวง อว. ภายใต้แพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดสกลนคร (Pre-SRA) โดยโมเดลแก้จนในพื้นที่นี้ เลือกใช้ปฏิบัติการ “เกษตรแปลงรวม” 

เกษตรแปลงรวม คือ การนำกลุ่มเป้าหมาย 50 คน เข้ามาสู่การเลี้ยงกบ โดยมีสมาชิกศูนย์ฯ เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้คำแนะนำ ด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการเกื้อกูลชุมชนสู่สวัสดิการการเรียนรู้ เพื่อสร้างรายได้หรือแบ่งปันเป็นอาหารตามศักยภาพของคนจน 

ทั้งนี้ ได้ร่วมกันวางแผนเป้าหมายอนาคต 3 ปี คือ จัดตั้งกองทุนกลุ่ม จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เพิ่มบ่อน้ำบาดาล เพาะเลี้ยงกบครบวงจรตลอดปีเพื่อจำหน่าย และขยายการทำเกษตรแบบผสมผสาน

เตรียมต่อยอด "เลี้ยงกบ" ในบ่อดินบนพื้นที่แปลงรวม ด้วยงานวิจัยแก้จน เตรียมต่อยอด "เลี้ยงกบ" ในบ่อดินบนพื้นที่แปลงรวม ด้วยงานวิจัยแก้จน เตรียมต่อยอด "เลี้ยงกบ" ในบ่อดินบนพื้นที่แปลงรวม ด้วยงานวิจัยแก้จน

ที่ตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนมะขามป้อม


ภาพ / เรื่อง : แตงโม สกลนคร
โครงการ : อารยเกษตรแก้จนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัย
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
ติดตามได้ที่ : Onepoverty , blockdit และ Facebook

3 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ17/12/67

    ถ้าเลี้ยงได้ตลอดปี ก็มีรายได้ตลอดปี

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ8/4/68

    ขอเบอร์ติดต่อของชุมชนหน่อยค่ะ อยากเข้าไปศึกษาดูงาน

    ตอบลบ
แสดงความคิดเห็น
ใหม่กว่า เก่ากว่า