โลกเดือด ส่งผลต่อความยากจนวิถีชีวิตชาวบ้าน มีรายจ่ายเพิ่มเดือนละ 3,000 บาท

โลกเดือด ส่งผลต่อความยากจนวิถีชีวิตชาวบ้าน มีรายจ่ายเพิ่มเดือนละ 3,000 บาท

บรรยากาศ ของวันที่ 27 เม.ย.2567 ขณะนี้เวลา 06.00 น. แตงโม อยู่บ้านดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ดวงพระอาทิตย์กำลังสาดแสงสีส้ม บอกว่าวันนี้พร้อมแผ่รังสีความร้อนเต็มพลัง ด้านกรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าปีนี้ จ.สกลนคร อุณหภูมิสูงขึ้น 42.6 องศา ฯ ทำลายสถิติปีที่ผ่านมา (ข้อมูล 27 เม.ย.2567) 

ผมกำลังนั่งมอไซค์ไปหาพ่อเด่น ให้สัมภาษณ์ผลกระทบภาวะโลกเดือดต่อวิถีการดำรงชีพคนในชุมชน ซึ่งรออยู่กลางป่าบุ่งป่าทามใน “ทุ่งพันขัน” เวลาเช้า ๆ ทุกวัน พ่อเด่นจะไปปล่อยควายทามออกหากิน และนี่คืออีกหนึ่งวิถีชีวิตระหว่างคนกับควายทาม ที่หาดูยากและนับวันมีแต่จะสูญหายไป และควายมีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับการทำนา ยังคงตำนานมาจนถึงปัจจุบัน

ข้าวกะบ่อยากจักเป็นแบบใดความร้อนนิ เปิดพัดลมมีแต่ลมร้อนอยู่ไม่ได้ต้องไปอยู่ตามร่มไม้ เดือดร้อนมากทั้งคนและสัตว์ ซื้อน้ำแข็งน้ำหวานบ่อยขึ้น

พ่อเด่น ณัฐฏพล นิพันธ์ ชาวบ้านดงสาร ได้เปิดเผยสถานการณ์ในพื้นที่กับผมว่า โลกร้อนหรือโลกเดือดส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีพทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ดังนี้ 

  1. ทานข้าวได้น้อย พักผ่อนได้น้อย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย 
  2. ทำงานกลางแจ้งได้น้อยลง ทำให้ไปรับจ้างไม่ได้ รายได้ลดลง 
  3. หมูที่ชาวบ้านเลี้ยงตาย ทนความร้อนไม่ไหว
  4. ควายทาม กินหญ้าได้น้อยลงทนแดดไม่ไหว
  5. ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คือ ค่าน้ำ ค่าไฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ยารักษาโรค โดยเฉพาะค่าน้ำแข็งวันอย่างน้อยละ 30 บาทต่อครัวเรือน รวมทั้งหมดแล้วเดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท (เฉพาะคนที่อยู่บ้าน ยังไม่รวมคนที่ไปทำงานรับจ้าง)

สำหรับความต้องการของชาวบ้านอยากให้หน่วยงานมาช่วยเหลือ ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพและตลาดที่ทำกิจกรรมในอาคาร (งดกลางแจ้ง) จัดสวัสดิการโรงผลิตน้ำแข็งในชุมชนเพื่อลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน

ทั้งนี้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ฯ ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ในอาคารหรือในสถานที่มีร่ม ได้แก่ โมเดลแปรรูปสบู่สมุนไพร โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ สนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วย บพท.


พ่อเด่น ณัฐฏพล นิพันธ์



เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า