ชาวบ้านคำแหว กำลังพูดถึงน้ำผึ้งเดือน 5 (ถ้าไม่พูดตอนนี้จะเป็นเดือน 6 ฮ่า ๆๆ) แต่ที่จริงหมู่บ้านจะมีความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับสมุนไพรทุกฤดูกาล ดังนั้นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ก็จะปรับไปตามฤดูกาล แต่ไม่ต้องกังวนด้านคุณภาพมาตรฐานนะครับ เพราะสมุนไพรคืออัตลักษณ์ไทบรู
พื้นที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ชายป่าเทือกเขาภูพาน ท่ามกลางธรรมชาติ ช่วงนี้เหล่านายพรานมีกลยุทธ์ดำรงชีพคือ หารังผึ้งป่า แน่นอนว่ามีทักษะและเทคนิคในการเก็บรวงผึ้ง เพราะผึ้งป่าคงไม่ทำรังตรงที่เก็บได้ง่ายแน่ เดียววันหลังจะรวบรวมข้อมูลมาเล่าให้ฟังนะ (คงดุน่าดู) มูลค่าที่ซื้อขายผึ้งกันในชุมชนมีราคาดังนี้
- น้ำผึ้งขวดละ 350 บาท
- ตัวอ่อนผึ้งถาดนั้น 100 บาท (แกงใส่หน้อไม้ดองแซ่บ)
ที่พูดถึงน้ำผึ้งเดือน 5 เพราะว่ากลุ่มแปรรูปสบู่สมุนไพรไทบรู กำลังพัฒนาสบู่สูตรน้ำผึ้งเดือน 5 ขอบอกเลยว่าเน้นคุณภาพและมาตรฐาน สรรพคุณทุกคนน่าจะรู้ดีเน้น ๆ ช่วยให้ผิวซุ่มชื้น ป้องกันแบคทีเรียเชื้อราต่าง ๆ (แอบเปิดเผยความลับกลุ่มแค่นี้ก่อน 555)
เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2567 สมาชิกได้แปรรูปสบู่สมุนไพร สูตรน้ำผึ้งเดือนห้า และอื่น ๆ รวมจำนวน 6 กิโลกรัม สงสัยมีออร์เดอร์เข้าฉลองก่อนวันสงกรานต์แน่ ๆ
ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์การตลาด ใช้โอกาสและศักยภาพในบริบทชุมชน แบบนี้มีหนึ่งเดียวที่ไทบรูบ้านคำแหว เดียวจะหาว่าทีมนักวิจัยโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง OnePoverty ไม่แจ้งข่าว
นี่เป็นก้าวแรกการพัฒนาไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคม คือใช้วัตถุดิบภายในชุมชน ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจภายใน
เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ