"บุญมหาชาติ" เตรียมสบู่หอมรับ "พระเวสสันดร" เข้าเมือง

สบู่สมุนไพร


แปรรูปสบู่ร่วมทำบุญ มอบให้ผู้ร่วมงานทุกคน รับได้ที่จุดบริการอาหารและสวัสดิการ ณ วัดไตรภูมิ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

เตรียม "สบู่หอม" ร่วมทำบุญมหาชาติและบุญประทายข้าวเปลือก

ทีมนักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร แปรรูปสบู่ สบทบกับกลุ่มสมุนไพรไทบรูบ้านคำแหว มีพี่นะโมและน้องหมวยเล็กก็ช่วยผลิตจนเสร็จ ปลอดภัย 100% ได้สบู่ปริมาณ 500 ก้อน ก้อนขนาด 25 กรัม เตรียมแพ็คบรรจุภัณฑ์นำไปมอบ ที่จุดบริการอาหารและสวัสดิการ งาน "บุญมหาชาติและบุญประทายข้าวเปลือก" ปี 2567 ณ วัดไตรภูมิ อ.อากาศอำนวย ในวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2567 เปิดบริการ เวลา 10:00 น. เป็นต้นไป

สืบสานประเพณีแห่รับ "พระเวสสันดร" เข้าเมือง

ผมเคยได้ฟังเรื่องราว "ทศชาติชาดก" ในตอน “พระเวสสันดร” ผู้มากด้วยมหาทานบารมี ทุกครั้งที่พระองค์กลับเข้าเมืองหลังจากออกไปบำเพ็ญทาน เมื่อชาวเมืองทราบข่าวทุกคนจะออกมาทำความสะอาดถนนและตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้นานาพรรณ พร้อมทั้งเตรียมเครื่องใช้ของหอมต้อนรับด้วยความปิติ เพื่ออนุโมทนาบุญให้มีส่วนในทานบารมีนี้

การเตรียมของไปร่วมงานบุญมหาชาติครั้งนี้ ทุกคนเสียสละทรัพย์ ลงมือปฏิบัติตามฮีตคองด้วยความเต็มใจ บรรยากาศเหมือนดั่งในเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” ซึ่งเป็นบ่อพลังหล่อหลอมชุมชนให้เข้มแข็งเกิดความสามัคคี บรรพบุรุษจึงรักษาสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มีมาแต่ยาวนานก่อน 2,600 ปี จนถึงปัจจุบัน

รักษาต้นแบบ Soft Power สวัสดิการชุมชนหลายพันปี

มันคือต้นแบบระบบสวัสดิการในชุมชน เป็นพลังอำนาจที่เก็บสะสมไว้ภายใน กล่าวได้ว่าเป็น Soft Power ไม่มีระบอบปกครองทำให้เสื่อม มีการพัฒนาให้ทรงคุณค่าทันยุคทันทุกสมัย

ถ้าทุกคนได้ถือปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้น ในปัจจุบันมีคำสอนว่า เป็นเพราะอานิสงส์ผลกรรมที่ได้ทำมาดีแล้วในอดีตชาติ จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตามสิ่งที่ดีงาม มีโอกาสในการสั่งสมทานบารมีให้ได้เหมือนกับพระเวสสันดรชาดก

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักคืออานิสงส์ผลบุญ 

"อานิสงส์" ผู้ให้ทานเช่นข้าวและน้ำที่สะอาดประณีตตามกาลสมควรอยู่เป็นนิตย์ การให้เครื่องบริโภคนั้น ได้ชื่อว่าให้ฐานะห้าประการแก่ปฎิคาหก ดังต่อไปนี้ คือ ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฎิภาณ ผู้ให้ย่อมได้รับฐานะห้าประการนั้นด้วย

นักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร ทีมโมเดลแก้จน

พี่นะโม น้องหมวยเล็ก

อ.สายฝน ปุนหาวงศ์
.......

เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ blogOnepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
{fullWidth}
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า