ป่าปุ่งป่าทาม คือตลาดสดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้านดงสาร
ลงน้ำ…ได้กินปลาเข้าป่า…ได้กินหน่อไม้
ได้กินเห็ด ขึ้นโคก…บ่กล้าไป ! ย้านตำนานอีสิ่นเหี่ยน ครูแดงเล่านิทานให้ฟัง แต่ว่าชาวบ้านดงสาร ใครคือคนที่หาปลาเก่งที่สุด…ครับ
เมนูอาหารป่า แค่คิดก็หิวมาก
ผมว่าวัตถุดิบใหม่ ๆ ขึ้นมาจากหนอง พึ่งออกจากป่าสด ๆ ได้ปลา กุ้ง หน่อไม้ นำมาประกอบอาหาร สามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คนในครอบครัวได้หนึ่งวันเลยนะตอนเช้า..ก้อยกุ้งเป็นแจ่วกินกับผัก
ตอนเที่ยง..แกงหน่อไม้ชดฮ้อน ๆ
ตอนแลง..ปิ้งปลากับตำหมากฮุง
แต่ละเมนู ถึงจะทำอาหารไม่เยอะ แต่วิถีดำรงชีพในหมู่บ้าน อยู่กันแบบเครือญาติ ต่างคนต่างทำคนละเมนู นำอาหารมากินร่วมกัน วันนี้ไปกินบ้านน้อง พรุ่งนี้ไปบ้านลุง สลับกันไปมาขึ้นอยู่กับว่า แต่ละวันใครได้อาหารป่าเยอะ ชาวบ้านเรียก "หมาน" สุดท้ายอาหารเยอะมาก จนกินไม่หมด คิดว่า…คงถูกใจคนไม่หา แต่กินฟรีมีเกียรติทุกงาน เหมือนผมเลย
![]() |
ปลาแม่น้ำสงคราม ทุ่งพันขัน บ้านดงสาร |
สวัสดิการในชุมชน
ที่เล่ามาเรียกได้ว่าเป็น "วัฒนธรรมการกิน" ของชาวบ้าน ซึ่งเจ้าของบริษัทการท่องเที่ยว Local Alike ชื่นชอบมาก ที่ส่งต่อมาจากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย แล้ว ถ้าเปรียบเทียบปัจจุบันผมว่าเป็น “สวัสดิการ” ครัวเรือนชุมชน คือความมั่นคงทางอาหาร ได้อย่างเป็นรูปธรรม ถ้าคิดมูลค่าเป็นตัวเงิน แต่ละเมนูคุณอาจตกใจ- กุ้งฝอย กิโลกรัมละ 200 บาท
- หน่อไม้ กำมือละ 50 บาท
- ปลา…(ผมจำชื่อไม่ได้) แต่ปลาเนื้ออ่อน กิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 200 บาท
ว๊าว...คิดง่าย ๆ อาหารวันนี้ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง 500 บาท ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนไปได้หนึ่งวัน มากไปกว่ามูลค่าก็คือได้กินนอาหารดี ๆ อิ่มท้องทุก ๆ วัน
ผมว่าเข้ากับคำผญาบทนี้
พี่น้องเอ๊ย..... วิถีชีวิตลูกอีสาน งานเหมิดกะลงท่ง
มีสวิงข่องน้อย...มือนั้นหิ้วกะคุ.. พากันบุไปหน้าหาแนวมากินสวย..
ได้อีปู..ได้กุ้ง..บ้างกะได้แมงระงำ... บ่ต้องเปียงบาทเบี้ย...บ่ต้องดิ้นรน...
นี้หล่ะคือสวรรค์ของอีสานบ้านเฮาแท้
เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ