อาจารย์ขนเอาเห็ดไปอีกแล้ว


"อาจารย์มาเอาเห็ดไปอีกแล้ว.!"

นัยแฝงของคำพูดนี้คือ "การเป็นเจ้าของ" โดยสมบูรณ์ จึงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเหมือนสิ้นหวัง ออกมาจากภายในจิตใต้สำนึก

ทุกคนเคยสูญเสียของที่รักไหมครับ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว วัว ควาย ยิ่งถ้าเราผูกพัน ได้ดูแลเองยิ่งรู้สึกห่วง แสดงความเป็นเจ้าของ วันหนึ่งมันจากไป บางที่อาจมีน้ำตาร่วง

เห็ด ก็เช่นกัน "โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ" มีกระบวนการสร้างให้เป็นเจ้าของ มีวิธีง่าย ๆ คือลงมือทำเองทุกกิจกรรม ใช้เวลารอเชื้อเห็ด รอวัตถุดิบ ลงแรงปั้นก้อน สร้างโรงเรือน บ่มอีก 30 วัน เก็บดอกอีก 4 เดือน ด้วยกลยุทธ์ปลูกความคิด ปลูกชีวิต ปลูกจิตวิญญาณ 

อ.สายฝน บอกว่า เหมือนเห็ดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ที่ต้องคอยรดน้ำ ดูแล เก็บ ขาย แม้จะขายก้อนก็เสียดาย หวง 

เป็นเวลาเหมาะสมสำหรับที่จะดูการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ ผ่านการทำเรื่องเดิมซ้ำ ๆ 3-4 เดือน สถานการณ์นี้อธิบายตรงตามทฤษฎีการฝึกประชากรประเทศญี่ปุ่น ที่ผมเคยอ่านทุกขั้นตอน มีบุคคลที่มีสติครบสมบูรณ์แวดล้อมเป็นพยานด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์

หลายคนอาจรู้สึกปกติ แต่คนที่ผสานสร้างแปลงขึ้นมา มีการปรับเปลี่ยนหลายวิธี กว่าจะได้มา ทั้งเสียใจและดีใจหลากหลายอารมณ์ แค่ได้ยินคำว่า “อาจารย์มาขอซื้อก้อนเห็ดไปอีกแล้ว” เพียงวินาที ก็เกิดภาคภูมิใจและซาบซึ้งมาก รู้สึกว่ากระบวนการถ่ายทอดทักษะถึงกลุ่มเป้าหมาย อย่างสมบูรณ์สวยงาม

ถ้าเปรียบความสวยงามนั้น มันเหมือนกับใบเมเปิลที่อยู่บนภูกระดึง ไม่มีใครเข้าใจความสวยงามนั้นหรอก นอกจากจะขึ้นไปดูกับตามาแล้ว โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ ก็เช่นกันต้องลองทำตาม

ถ้ามีสูตรสำเร็จเหมือนสร้างหุ่นยนต์ เพียงหนึ่งตัวสามารถสร้างงานได้มากมาย ถ้าลงทุน 1,000,000 ผมว่าทุกคนก็พร้อมจ่าย เช่นเดียวกับการสร้างคน ถ้าหนึ่งคนที่เอาด้วย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาอย่างมหาศาล

ถ้าคิดสูตรตัวคูณเล่น ๆ สร้าง 1 คนได้ เขาคนนั้นจะไปสร้างอีก 10 คน อีก 10 คนจะสร้างอีก 100 คน อีก 100 คนจะสร้างอีก 1,000 คน เพิ่มขึ้นทวีคูณทุก ๆ 4 เดือน หรือในรอบการผลิตเห็ด

เมื่อเข้าหาแหล่งสนับสนุน ต้องคิดแบบศาสตร์ แต่ลงชุมชน ต้องปฏิบัติอย่างศิลป์ กลยุทธ์สำคัญของทีมโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง มีกระบวนการดำเนินงาน คือ "การวิจัย ความคิด ชีวิต วัฒนธรรม" มีความหมายมาก ถ้าต้องทำงานในพื้นที่แล้ว จะแยกกิจกรรมออกจากกันไม่ได้ การไม่เข้าใจวิถีชีวิตวัฒนธรรม ก็เปรียบเป็นบัวใต้น้ำเช่นกัน ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้




เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า