
เมื่อสมุนไพรได้รับพรจากธรรมชาติ คือ น้ำฝน น้องดูร่าเริงพลิใบใหม่ ชูคอแทรกซ้อนสลับกันหลากหลายสี ยิ่งเจ้าของเอาหญ้าออก สวนสมุนไพรดูแล้วยิ่งโดดเด่นเหลือเกิน
ใช่แล้วครับ นี่คือสวนสมุนไพรไทบรู ที่เราไปปลูกไว้อยู่โรงเรียนบ้านคำแหว เมื่อปีที่แล้ว (2566) ซาบซึ้งใจที่วันนี้งานวิจัยโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง ฯ เห็นผลจากการวางแผนระบบห่วงโซ่อุปทาน ปลูกสมุนไพร แปรรูปสบู่ และสร้างกลยุทธ์การตลาด จากความร่วมมือ บ้าน วัด โรงเรียน
เมื่อเห็น คน-ของ-ตลาด อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว การขับเคลื่อนงานในอนาคตต้องขอร้องทางอุตสาหกรรม และสาธารณสุข เข้าไปหนุนเสริม ยกระดับ ย้ำอีกครั้งนะ เข้าไปหนุนเสริมและยกระดับให้สินค้ามีมาตรฐาน ไม่ใช่เข้าไปกีดกันให้ข้อจำกัดว่าสิ่งนี้ทำไม่ได้ ลงไปทำในสิ่งที่ว่าทำได้แล้วลงมือทำ เพราะการสร้างนวัตกรรม ง่ายกว่าการสร้างคน สร้างกลุ่ม
เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ภายใต้งานวิจัย : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปี พ.ศ.2566
ติดตามได้ที่ : Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ