ติดตาม หนุนเสริมกลุ่มสมุนไพรบ้านคำแหว ปรับเปลี่ยนวิธีนำไปสู่เป้าหมาย


การพัฒนาตามบริบทพื้นที่ตามบริบทคน โดยกรอบดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) มีส่วนสำคัญมาก เพราะมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม / ครัวเรือน / คน ผมมั่นใจว่าทุกคนมีประสบการณ์ล้มในอาชีพมามาก แต่การลุกไวยังเป็นเครื่องหมาย ? ถามกันไปมาอยู่

ล้มแล้วลุกไว ชาวบ้านยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง อาจเป็นคำปลอบใจหรือคำนิยามสำหรับนักพัฒนามากกว่า ใช่เพราะคำว่าล้มมีความหมายกว้างมาก อธิบายแบบไหนก็ได้

  • กิจกรรมนี้ ล้ม
  • โครงการนี้ ล้ม
  • กลุ่มนี้ ล้ม
  • ครัวเรือนนี้ ล้ม 
  • คนนี้ ล้ม 

พอเห็นภาพไหมครับ ส่วนใครที่ล้มใครที่ลุก ก็ไปวิเคราะห์เอาเอง 

กลุ่มสบู่สมุนไพรไทบรูบ้านคำแหว เรายังไม่ล้มนะ เพราะเรายังไม่เดินก้าวแรกด้วยตนเองเลย นักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร ทีมปฏิบัติการโมเดลเกษตรมูลค่าสูง ฯ โดย อ.อ้อย อ.น้อย ได้ปฏิบัติการวิจัย ล้มแล้วลุกไว ให้กลุ่มชาวบ้านได้เห็นภาพได้ชัด

และวันนี้ 9เม.ย.2567 ได้ติดตาม หนุนเสริมกลุ่มสมุนไพรบรูไฮ(ไทบรู) เหมือนทุก ๆ เดือนที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 1 ปี แต่ครั้งนี้เหมือนกำลังจะส่งทางให้ชาวบ้านเดินต่อ พร้อมทั้งหาข้อเสนอการพัฒนากลุ่มเพื่อส่งต่อโอกาสให้โครงการอื่น ๆ ชาวบ้านสามารถนำไปใช้ โดยมี พ่อป่าว พี่แอน แม่ไหว พี่แพรวา พัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าอยู่ต่อเนื่อง ตามความต้องการลูกค้า โดยมีจุดแข็งคืออัตลักษณ์ภูมิปัญญา ที่บ่งบอกถึงความเป็นหนึ่งเดียวของไทบรูสกลนคร 

ผมว่ามันเป็นการ Empowerment ชุมชุม จากการสร้างโอกาสทางสังคม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือชุมชนภูมิใจกล้าที่จะนำเสนออัตลักษณ์ และยังมีผลกระทบคือเกิดช่องทางการสร้างรายได้




เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ติดตามได้ที่ Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ติดตามได้ที่ งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า