จังหวัดสกลนคร นำ TPMAP Big data แก้ปัญหาความยากจนด้วยงานวิจัย



มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์ขจัดความยากจน ฯ ศจพ.จ.สกลนคร โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ผอ.สถาบันวิจัย ฯ ได้เปิดเผย “โมเดลแก้จน” จากการศึกษาครัวเรือนยากจน ในระบบ TPMAP เตรียมโครงการนำร่องใน 6 อำเภอ ที่ประชุมให้ความสำคัญการแก้ไขปัญหาความยากจน ผู้ว่า ฯ สั่งการให้สอบทานครัวเรือนยากจนเชิงรุกทั้งจังหวัด โดยใช้แพลตฟอร์มจากงานวิจัย พร้อมขับเคลื่อนงานด้วยกลไกจังหวัดผ่านศูนย์ ศจพ. ในทุกระดับ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดสกลนคร หรือ ศจพ. จ.สกลนคร โดยมี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธาน พร้อมด้วย นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร และคณะกรรมการศูนย์ขจัดความยากจน ศจพ.จ.สกลนครเข้าร่วมประชุม เวลา 10.00 น. ณ ห้องพระธาตุเชิงชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสกลนคร

ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญในการขจัดความยากจน ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ ศจพ.จ.สกลนครขึ้น เพื่อขับเคลื่อนงานโดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบ TPMAP จังหวะเดียวกันมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีงานวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนำข้อมูลจากระบบ TPMAP เป็นเป้าหมาย

ได้ขยายผลการศึกษานำปัญหาความต้องการ ของคนยากจนระดับพื้นที่ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการ จัดสรรงบประมาณ พรก.เงินกู้โควิดรอบ 2 เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างชัดเจน พร้อมกับมอบหมายให้ทุกส่วนราชการ ที่มีบทบาทหน้าที่แก้ไขปัญหาความยากจน เสนอโครงการเข้าร่วมกับ ม.ราชภัฏสกลนคร โดยใช้แพลตฟอร์มงานวิจัย ขับเคลื่อนงานผ่านศูนย์ขจัดความยากจน ฯ ศจพ. จ.สกลนคร


พช.จ.สกลนคร

กลไกแก้จน ศจพ. จ.สกลนคร

เลขานุการศูนย์ ศจพ.จ.สกลนคร แจ้งระบบและกลไกการขับเคลื่อนงาน ผ่านศูนย์อำนวยการ ศจพ.ระดับจังหวัด หรือ ศจพ.จ. ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และจัดตั้งศูนย์ระดับอำเภอ หรือ ศจพ.อ. เพื่ออำนวยการปฏิบัติการ พร้องกับแต่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับตำบล หรือ ศจพ.อปท. เป็นทีมพี่เลี้ยงเข้าปฏิบัติการแก้ไขปัญหา พัฒนา ติดตาม และสะท้อนแนวทางการแก้ไขปัญหาระดับครัวเรือน รายงานการปฏิบัติต่อศูนย์ ศจพ.ตามลำดับ 

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเอกภาพและความยั่งยื่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย หน่วยงานของรัฐและ ศจพ. ในทุกระดับจะต้องดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนฯ ผ่านระบบ TPMAP เท่านั้น นอกจากนี้ได้ชี้แจ้งต่อว่า หน่วยงานที่สามารถแก้ไขข้อมูลในระบบ TPMAP ได้คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณะสุขจังหวัด พม.จังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด พช.จังหวัด นายอำเภอและพัฒนาการทุกอำเภอ และกำลังพิจารณาขยายผู้ที่มีสิทธิ์เข้าไปแก้ไขอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติม นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร เสนอต่อที่ประชุมเพื่อทราบ



ดร.สุธาสินี

แพลตฟอร์มบริหารจัดการความยากจน กุดบากโมเดล

ดร.สุธาสินี คุปตะบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นำเสนอแพลตฟอร์มงานวิจัย แก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ของกระทรวง อว. ว่า ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการ ปี 2563 มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ ในจังหวัดสกลนคร 

โดยการปูพรหมสำรวจครัวเรือนยากจน จปฐ. 10,690 ครัวเรือน และคนจนจากระบบ TPMAP ทั้ง 18 อำเภอ ได้สำรวจทุนการดำรงชีพของครัวเรือน มีตัวชี้วัด 5 มิติ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนการเงิน ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการหลุดพ้นจากความจน และการนิยามครัวเรือนยากจนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอยู่ยาก อยู่ลำบาก อยู่พอได้ และอยู่ดี 

พบว่าครัวเรือนยากจน มีการดำรงชีพที่แตกต่างกัน ซึ่งการให้ความช่วยเหลือจะต้องแตกต่างกัน ตามลักษณะของครัวเรือน จะสามารถพัฒนาได้อย่างตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ ได้นำไปสอบทานความแม่นยำโดยจัดเวทีคืนข้อมูล ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.กุดบาก อ.เต่างอย อ.โพนนาแก้ว อ.อากาศอำนวย อ.ส่องดาว อ.เมืองสกลนคร เป็นต้น

จากการลงพื้นที่ค้นหาครัวเรือนยากจนเชิงรุก 100 % พร้อมทั้งจำแนก คุณลักษณะครัวเรือนออกเป็น 4 กลุ่ม และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาแต่ละกลุ่ม นอกจากนั้นได้ศึกษาทุน 4 ด้านในชุมชนที่เอื้อต่อครัวเรือนยากจน มีปัญหาหรือความต้องการอะไรเพื่อจัดทำโครงการหรือกิจกรรมแก้ไขปัญหาและนำเสนอสู่พัฒนา จากปัญหาความต้องการของคนจน 


งานวิจัยได้จัดทำโครงการนำร่องที่บึงอาคะ บ.กุดไห ต.กุดไห อ.กุดบาก จ.สกลนคร คือปลูกผักปลอดภัย ได้พัฒนาทั้งห่วงโซ่การผลิต (ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง) ดำเนินการร่วมกับท้องถิ่นท้องที่ พร้อมนำองคาพยพทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ทุกตำบล วิเคราะห์ฐานอาชีพและยกระดับเศรษฐกิจตำบล พร้อมทั้งขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายด้วยกลไก “กุดบากโมเดล” เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งอำเภอ

ผลการดำเนินงานวิจัย ในปีที่ 1 เราได้แพลตฟอร์มงานวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของกระทรวง อว. “โมเดลแก้จน” เตรียมขยายผล ในปีที่ 2 พร้อมดำเนินการปูพรมสำรวจ 100 % ใน 6 อำเภอ นอกจากนั้นความต้องการคนจนระดับพื้นที่ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อของบจังหวัด พรก.เงินกู้โควิดรอบ 2 เพื่อดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ตรงตามปัญหาความต้องการแต่ละพื้นที่



กลไกการดำเนินงานวิจัย ฯ

รศ.ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์ ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวว่า การขยายผลแพลตฟอร์มงานวิจัย ฯ สู่การจัดทำข้อเสนอโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนฐานรากจังหวัดสกลนคร  จากข้อเสนอปัญหาความต้องการคนยากจน ในแต่ละประเด็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำนวัตกรรมพร้อมใช้ไปแก้ไขปัญหาความยากจน ตามประเด็นความต้องการในพื้นที่ ทั้งหมด 12 อำเภอ 

พร้อมทั้งขับเคลื่อนโครงการร่วมกับส่วนราชการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สนง.พัฒนาชุมชุนจังหวัด สนง.เกษตรจังหวัด สนง.พาณิชย์จังหวัด ดำเนินเดินโครงการ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ สัตว์เศรษฐกิจ ปลูกผักปลอดภัย ส่งเสริมทักษะอาชีพ ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ส่งเสริมช่องทางการขายและโอกาสทางการตลาด ใช้งบทั้งหมด ประมาณ 80 ล้านบาท

ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร แจ้งต่อที่ประชุมเพิ่มเติมว่า แพลตฟอร์มงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญที่สามารถดำเนินการภายใต้กรอบโครงการของ พรก.เงินกู้โควิดรอบ2 และเป็นแนวทางขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดสกลนคร ฝากทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและใช้ประโยชน์จากระบบ TPMAP ซึ่งจะให้เป็นระบบ Monitor ติดตามการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล อยากให้ศูนย์ขจัดความยากจน ศจพ.จ ในทุกระดับ หรือส่วนราชการที่มีบทบาทหน้าที่แก้ไขปัญหา 5 มิติ เข้าไปอัพเดทข้อมูลในระบบ TPMAP ให้เป็นปัจจุบัน


โครงการที่ ม.ราชภัฏสกลนคร รับผิดชอบ

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร ได้ทำโครงการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปาะบางรายครัวเรือนโดยใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP และปีนี้ พมจ.สกลนคร ได้โครงการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านพอเพียง 180 ครัวเรือน บ้านผู้สูงอายุ 40 ครัวเรือน บ้านคนพิการ 35 ครัวเรือน พร้อมทั้งมีกลไกขับเคลื่อนงานคือข้าราชการ พมจ.สกลนคร 1 คน ดูแล อพม. 25 คน อพม.1คน ดูแลกลุ่มเปาะบางรายครัวเรือน 10 ครัวเรือน

ภายหลังก่อนปิดประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครกล่าวว่า ถ้าส่วนราชการต่อยอดและขยายผลดำเนินงานได้ งบประมาณปี 2566 การแก้ไขปัญหาความยากจนทางจังหวัดพร้อมใช้โมเดลแก้จ้นจากแพลตฟอร์มงานวิจัยฯอย่างเต็มรูปแบบ






เรียบเรียงโดย : สมชาย เครือคำ (แตงโม สกลนคร)
ดำเนินการ : โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในสกลนคร 
ติดตามได้ที่ : Onepoverty และ blockdit และ Facebook
แหล่งทุนวิจัย : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) งานยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
{fullWidth}
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า