
เรื่อง: แตงโม สกลนคร
ทุกคนรู้ดีว่า “ดินคือหัวใจของการทำเกษตร” และเรื่องนี้ แตงโม ภูมิใจบอกว่า จังหวัดสกลนครมีครบทั้งตัวและหัวใจ! เพราะดินและอากาศที่นี่เหมาะกับการปลูก “มันฝรั่ง” มากเป็นพิเศษ จนกลายเป็นเพียง 1 ใน 2 จังหวัดของภาคอีสาน (อีกจังหวัดคือนครพนม) ที่ปลูกมันฝรั่งได้!
มันฝรั่งลูกโตเริ่มต้นที่คุณภาพดิน! 🥔
ดินคุณภาพดี ที่มีอินทรียวัตถุครบถ้วนเป็นอย่างไร และจะปลูกมันฝรั่งให้ได้ผลผลิตลูกโตได้อย่างไร? คำถามนี้มาจากโจทย์ปัญหาในรอบผลิตปีที่แล้ว
อ.ภานุวัฒน์ บุญตาท้าว หัวหน้าโครงการวิจัยฯ และทีมนักวิจัย ม.ราชภัฏสกลนคร จึงเริ่มต้นลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินจากแปลงเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2568 เพื่อส่งห้อง LAB ของศูนย์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อตรวจคุณภาพและธาตุอาหารอย่างละเอียด
แตงโม ก็กำลังลุ้นผลกันสุดๆ ว่าการทดสอบครั้งนี้จะมีธาตุอาหารในดินหรือไม่! ซึ่งผลทดสอบจะนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงคุณภาพดินตามความต้องการ N P K ของพืช ถ้าทำได้จริง จะเป็นการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมหาศาล!
.jpg)
ปรับเกษตรพันธสัญญา ด้วยความเข้าใจและคุณธรรม! 🌱
บริษัท เริ่มเข้าใจความเสี่ยงและต้นทุนที่เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งต้องแบกรับ จึงพร้อมปรับเปลี่ยน! เงื่อนไขให้เกษตรกรลองใช้วิธีการผลิตแบบใหม่ ถ้าหากผลลัพธ์ไม่แตกต่างจากเดิมมาก
ถือเป็นการ ปรับภาพลักษณ์เกษตรพันธสัญญาให้เป็นแบบใหม่ ด้วยคุณธรรมอย่างแท้จริง! การเปลี่ยนแปลงในแบบนี้จะเกิดขึ้นกับงานวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับทุกคน!
จากผลงานเดิมใน ปี2567 และการขึ้นโจทย์ปีนี้ (2568) อ.ภานุวัฒน์ มีกลยุทธ์สร้างความเชื่อใจกับทุกๆ ฝ่าย ผ่านกระบวน “การจัดสวัสดิการ การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยชุมชน” (CIL. - Community Integrated Learning) ที่ใช้เป็นหลักในการสร้างความรู้ผ่านการปฏิบัติจริง ยกระดับงานหรือนำภูมิปัญญาเดิม มาสร้างคุณค่าใหม่ในการเรียนรู้ของตนเอง!
หลักสำคัญ CIL. 5 ข้อที่นำมาใช้ในโมเดลแก้จน
- เรียนรู้จากสถานการณ์ปัญหา: เกษตรกรลองเสี่ยงกับการปลูกมันฝรั่งนอกรอบผลิตไป 10 วัน ซึ่งได้สร้างความกังวลจากปัญหาต่างๆ ในระบบผลิตที่ตามมากลัวว่าจะขาดทุน จึงให้กำลังใจและแก้ไขปัญหาบางอย่างร่วมกัน ปรับเงื่อนไขเพื่อรักษาสมดุล และสร้างความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การปลูกและขยายผล
- สร้างแหล่งเรียนรู้แปลงต้นแบบ: ชุมชนมีแปลงปลูกมันฝรั่งต้นแบบ มีการพัฒนาทักษะแรงงานใหม่ระบบผลิตเกษตรมูลค่าสูง ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ เข้าถึงเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายใหม่ๆ แต่ยังคงจัดการโดยใช้ภูมิปัญญาในชุมชนเป็นหลัก
- ฐานการหนุนเสริมติดตามช่วยเหลือ: พร้อมช่วยเหลือ เช่น ไม่มีเงินจ้างในการเตรียมแปลงที่ผิดพลาด (ที่อาจต้องจ้างไถยกร่องใหม่) สนับสนุนค่าเดินทางไปศึกษาดูงาน และนำนักศึกษาเข้ามาช่วยเป็นแรงงาน เพื่อแบ่งเบาภาระเกษตรกร
- การโค้ช: สนับสนุนให้เกษตรกรลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเองก่อน ทางบริษัทจะติดตามการผลิตและช่วยแนะนำวิธีการทำ รวมถึงการเสริมทักษะและข้อควรระวัง พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และการศึกษาผ่าน YouTube เพื่อให้ทุกคนมีความรู้รอบด้าน
- การร่วมมือกันแก้ปัญหา: บางปัญหา เช่น คุณภาพดิน การชลประทาน แหล่งเงินทุน หรือทักษะการแปรรูป เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขเองได้ เราจึงอาศัยการพูดคุยในเวที Poverty Forum และเครือข่ายอื่นๆ เพื่อหาทางออกปัญหาร่วมกับ
.jpg)
.jpg)